วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เหตุผลทำไมเราต้องเรียนเศรษฐศาสตร์


รศ.ดร. วราภรณ์ สามโกเศศ
สุทธิพิทักษ์ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

       ช่วงเวลานี้คงเหมาะที่สุดสำหรับการหาข้อมูลเพื่อตัดสินใจ เลือกสาขาเข้าเรียนในมหาลัยของมวลหมู่นักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้ง ปลาย ที่ขณะนี้กำลังคร่ำเคร่งกับการเตรียมสอบไล่และอีกไม่นานต่อไปก็คือการสอบ เข้ามหาวิทยาลัย การเล่าให้ฟังว่าเขาเรียนเศรษฐศาสตร์กันไปทำไม คงจะเป็นประโยชน์ตามสมควรแก่ตัวนักเรียน และคุณพ่อคุณแม่ที่อาจมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนี้

ปัจจุบันมีนักเศรษฐศาสตร์บางคนพยายามหาเหตุผลใหม่ๆ เกี่ยวกับการเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ จึงใคร่นำมาขยายความเพื่อความทันสมัย และเพื่อเป็นข้อมูลใหม่สำหรับการตัดสินใจ

ในความเห็นสมัยใหม่มีเหตุผลไม่ต่ำกว่าห้าประการที่ควรเรียนเศรษฐศาสตร์ 

ประการแรก ก็คือวิชา เศรษฐศาสตร์พยายามพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ที่อยู่บนพื้นฐานของ ความมีเหตุผล (RATIONALITY) และในการค้นหานี้ได้ผลิตวิธีการคิดที่มีประโยชน์ในเรื่องว่าพฤติกรรมที่มี เหตุผลมีลักษณะอย่างไร และถ้าเข้าใจในบางเรื่อง เช่น ต้นทุนส่วนเพิ่ม (MARGINAL COST) ต้นทุนที่จมอยู่แล้ว (SUNK COST) ฯลฯ ด้วยแล้วก็จะมีเครื่องมือสำคัญ และมีประโยชน์ยิ่งในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการเกี่วกับชีวิตของตนเอง

ต้องไม่ลืมว่าการเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่อง ใหม่ที่เพิ่งค้นคว้ากันไม่นานมานี้ ประเด็นก็คือพฤติกรรมมนุษย์ซึ่งเชื่อว่ามีเหตุผล และถ้าเราเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้ (รวมพฤติกรรมของตัวเราด้วย) ตลอดจนเรื่องต้นทุนส่วนเพิ่มและต้นทุนที่จมอยู่แล้วคุณภาพในการตัดสินใจของ เราก็ต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน

ต้นทุนส่วนเพิ่ม (MARGINAL COST) หมาย ถึง ว่าในการผลิตเพิ่มขึ้น 1 หน่วยหรือดำเนินกิจการใดเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย หรือดำเนินกิจการใดเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย จะมีต้นทุนเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ส่วนต้นทุนที่จมอยู่แล้ว (SUNK COST) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้วจะจ่ายไปแล้ว โดยไม่ผันแปรกับสิ่งที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องตัดสินใจว่าสมควรจะใช้เวลาอีกสองสามอาทิตย์ ในการมองหาเงื่อนไขที่ดีกว่าในการซื้อบ้านหรือรถยนต์หรือไม่ ผู้เรียนเศรษฐศาสตร์จะสามารถติดได้ชัดเจนว่าควรจะมองบ้านหรือรถคันอื่นหรือ ไม่ หลังจากได้พบสิ่งที่ถูกใจแล้ว ก็คือการเปรียบเทียบระหว่างผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการค้นหาเพิ่ม เติม กับต้นทุนส่วนตัวที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นถ้าพบว่าไม่คุ้มก็ควรเลือกสิ่งที่ถูก ใจแล้ว มิฉะนั้นก็ค้นหาต่อไป

สำหรับต้นทุนที่จมอยู่แล้ว การตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐานของต้นทุนที่เกี่ยวพันโดยไม่นำต้นทุนที่จมอยู่ แล้วนำมาคำนึงถึง เช่น ในการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ การตัดสินใจว่าควรทำหรือไม่ จะต้องไม่เอาค่าใช้จ่ายในการประเมินโครงการมาคำนึงถึงด้วย เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นไม่ว่าจะทำโครงการหรือไม่ การเสียดายค่าใช้จ่ายสูงในการประเมินโครงการจนทำให้ต้องตัดสินใจทำโครงการ อาจเสียหายมากมายในที่สุด เป็นวิธีการตัดสินใจที่ผิด

ประการที่สอง เรา เรียนเศรษฐศาสตร์เพื่อเข้าใจและคาดคะเนพฤติกรรมของคนอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของคนจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อจะได้เป็นการข้อมูลประกอบการวางแผนชีวิตของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนที่พยายามทำเงินในตลาดหุ้นหรือนายพลทหารที่พยายาม ป้องกันไม่ไห้ผลทหารวิ่งหนี (เพราะสำหรับพลทหารชั่วคราวทั่วไปแล้ว การมีชีวิตรอดน่าจะสำคัญกว่าชนะสงคราม) หรือเจ้าของบ้านมีความต้องการขู่พวกขโมย ด้วยการติดป้ายหน้าบ้าน (แสดงให้เห็นว่าใกล้อำนาจรัฐ โดยชื่อมีไตเติ้ลเป็นยศเป็นตำแหน่ง) หรือนักเรียนพยายามคาดคะเนค่าจ้างในอนาคตของอาชีพต่างๆ

อย่างไรก็ดี ในทุกกรณีข้างต้นความรู้เศรษฐศาสตร์แต่อย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการต้องการ คาดคะเน เราจำเป็นต้องมีข้อเท็จจริงและวิจารณญาณประกอบด้วย หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าเศรษฐศาสตร์ให้แต่เพียงกรอบที่จำเป็นโดยความรู้และ วิจารณญาณต้องผสมผสานกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้องกรืออย่างน้อยก็ได้ข้อ สรุปที่ดีกว่ากรณีที่ไม่มีเศรษฐศาสตร์เลย

ประการที่สาม เรียน เศรษฐศาสตร์เพื่อจะไปสอนเศรษฐศาสตร์แก่คนอื่นต่อไปหรือเพื่อค้นคว้าวิจัย สร้างองค์ความรู้เรื่องเศรษฐกิจ แก่สังคมต่างๆ วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้คงทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยเห็นความสำคัญของการจัดการ เศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ (บางคนอาจบอกว่าจงอยู่ให้ไกลอาชีพนี้เพราะเป็นต้นเหตุทำให้เกิดวิกฤตก็เป็น ได้) และกระตุ้นความสนใจในเรื่องเศรษฐกิจแก่เยาวชน

ในเชิงเศรษฐศาสตร์หากมีผู้เชื่อและสนใจมาเรียนเศรษฐศาสตร์อีกมากมายจากข้อ เขียนชิ้นนี้ รายได้ของมวลหมู่นักเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่แล้วจะลงลด ดังนั้น ในฐานะเป็นผู้มีเหตุผลจึงต้องหวงก้างเป็นธรรมดา จึงได้แต่ภาวนาว่าคงจะจะไม่มีผู้คล้อยตามมาเรียนเศรษฐศาสตร์มากมายซึ่งจาก ความสามารถเพื่มขึ้นอีกมากมาย

ประการที่สี่ เรียน เศรษฐศาสตร์เพราะมันสนุก เมื่อเข้าใจตรรกวิทยาศาสตร์ซึ่งไม่ได้ยากเย็นลึกซึ้ง และอยู่บนพื้นฐานความรู้ที่มากมาย แล้วสามารถเข้าใจสิ่งที่อยู่รอบตัวได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมันจะสนุกและเป็นประโยชน์ อาจสามารถหาแบบแผนจากสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างวุ่นวายได้

ตัวอย่างได้แก่ การที่เราเห็นการแลกบัตรเมื่อนำรถเข้าไปจอด บางครั้งรู้สึกรำคาญและดูไร้สาระใครๆ ก็เลยแบบกันอย่างไม่น่าจะเข้าใจเหตุผลที่แท้จริง แต่ถ้าเข้าใจตรรกวิทยาของเศรษฐศาสตร์ที่ว่ามนุษย์ ตอบรับต่อแรงจูงใจเสมอแล้วจะเลิกรำคาญ และเห็นพิธีกรรมแลกบัตรนี้ โจรนั้นเลือกที่จะประกอบอาชญากรรมด้วยต้นทุนต่ำ (ขโมยเด็กที่พ่อแม่ไม่มีเงิน ไม่มีอิทธิพล เป็นปัญหาน้อยกว่ามาก งัดแงะรถที่ดูจะอยู่ไกลอำนาจรัฐ ขึ้นขโมยบ้านที่มีเงินแต่ไม่มีอำนาจอาจอาศัยของรัฐ หรืออยู่ใกล้อำนาจของรัฐ) การแลกบัตรทำให้ต้องหาบัตรมาให้คนเก็บเวลานำรถออก ซึ่งต้นทุนต้องหาบัตรจะผลักดันให้โจรไปเลือกหาเหยื่อที่อื่นที่มีต้นทุนต่ำ กว่า

ทำไมเราไม่เคยเห็นหมอมาขายส้มตำ (แพทย์จริงๆ ไม่ใช่หมอรำ) ก็เพราะมนุษย์ทุกคนจะพยายามทำงานในอาชีพที่ทำให้ตนเองได้รับผลตอบแทนเท่ากับ กับศักยภาพในการหารายได้ของตนเองเสมอ ถ้าหมอมาขายส้มตำ (สมมติว่ารายได้เราน้อยกว่าอาชีพหมอ) ทุกวันที่ขายก็เท่ากับสูญเสียรายได้อันพึงประสงค์ไปจำนวนหนึ่ง แต่ที่เราเห็นหมอเล่นหุ้น ขายเครื่องสำอาง ก็เพราะ “จำนวนหนึ่ง” ที่ว่านี้ มันเล็กลงทุกทีและบางกรณีมันกลับกัน การเป็นหมอทุกวันนั้นอาจกลับเป็นการสูญเสียรายได้ เหตุผลที่หมอจำนวนมากไม่ออกมาขายเครื่องสำอางหรือวิตตามินก็เพราะเหตผลอื่นๆ เช่น ไม่ใช่หมอทุกคนจะทำอาชีพอื่นได้ ความรักวิชาของตนเอง ความหยิ่งรักในศักดิ์ศรี การได้รายได้ในการเป็นหมอสูงกว่าอาชีพอื่นโดยเฉลี่ย ถ้าออกแรงและเสียเวลาเท่า ๆ กัน ฯลฯ

เหตุผลข้างต้นนี้ใช้ได้กับปรากฎการณ์ที่มีสาว ๆ การศึกษาสูงครอบครัวที่มีฐานะ (หน้าตาดีโดยมีองศาจมูกใกล้เคียงกัน) มาประกวดนางสาวไทยมากทุกที ผลตอบแทนสูงในรูปของรายได้ที่เป็นตัวเงินและความมีหน้าตา และโอกาสได้เป็นซินเดอเรล่าสูงกว่าคนอื่นดึงดูดให้มาอยู่ในอาชีพนี้สักระยะ หนึ่ง (พ่อแม่หรือตนเองอาจคิดว่าสวยอย่างนี้ เก่งอย่างนี้ ถ้าต้องมาทำงานอย่างอื่นโดยไม่ได้เป็นนางสาวไทย แต่ละวันที่ผ่านไปก็เท่ากับสูญเสียสิ่งที่พึงได้เกิดค่าเสียโอกาส ดังนั้น จึงต้องเป็นนางสาวไทยให้ได้เพื่อทำให้ค่าเสียโอกาสนี้หายไป เขียนอย่างนี้ บางท่านอาจคิดว่าผู้เขียนเพ้อเจ้อ แต่เคยมีเพื่อนเล่าให้ฟังว่า พ่อแม่สาวที่มาสมัครบางคนมีความรู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ )

ประการที่ห้า การ เรียนเศรษฐศาสตร์จะทำให้ผลกระทบของนโยบายที่รัฐบาลดำเนินการได้ค่อนข้างดี เป็นพลเมืองดีที่สามารถส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยได้อย่างมีประสิทธิภาพและ สามารถสนับสนุนให้สังคมมีความเป็นธรรมมากขึ้น เนื่องจากมีความเข้าใจในเรื่องกลไกการใช้ทรัพยากรที่จำกัดของสังคม (ที่มักเอนเอียงไปเข้าข้างคนมีฐานะอยู่เสมอ)

เศรษฐศาสตร์เป็ยเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างใหม่ของสังคมไทยที่เติบโตนับแต่สงคราม โลกครั้งที่สองเลิก ดังนั้น ความไม่เข้าใจประโยชน์ของศาสตร์นี้จึงมีค่อนข้างสูง และไม่เป็นที่นิยมนักเหมือนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร วิศวกร ฯลฯ ซึ่งเป็นวิชาชีพหรือบริหารธุรกิจ ซึ่งเห็นภาพชัดเจนว่าจบแล้วไปทำอะไร แต่เศรษฐศาสตร์นั้นแฝงอยู่ในงานของนักวางแผน ผู้จัดงบประมาณ ความเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจนักผังเมือง นักสิ่งแวดล้อม นักการเมือง นายธนาคาร ฯลฯ จึงไม่ใช้อาชีพที่ออกมาโดดเด่นเห็นภาพที่เป็นรูปธรรม 



สำหรับการสอบเข้าเรียนคณะ เศรษฐศาสตร์ต่างๆ นั้น โดยแท้จริงแล้วคะแนนสอบเข้ายังไม่สูงนัก แต่ก็ขยับสูงขึ้นเป็นลำดับ เพราะมีผู้เห็นความสำคัญมากขึ้น นับแต่วันเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในระดับโลกการเรียนเศรษฐศาสตร์ของไทเกอร์ วู้ดส์ น่าจะมีส่วนทำให้เศรษฐศาสตร์เป็นที่น่าสนใจของเยาวชนต่างๆ เพิ่มขึ้นบ้าง 

อย่าดูถูกเศรษฐศาสตร์นะครับ ไม่ใช่วิชานี้หรือครับที่ทำให้ ดร. โอฬาร ไชยประวัติ ไม่ได้เป็นแพทย์ผู้มีชื่อเสียงแต่กลับเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังแทน และ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ได้เป็นผู้อำนวยการใหญ่ของ WTO แทนที่จะเป็นผู้อำนวยการของโรงพยาบาลใหญ่หรืออธิการบดีของมหาลัยวิทยาลัย แพทย์ของไทย