นายสราวุธ แสงนรินทร์
นักศึกษา คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)
ผู้ช่วยฝ่ายทรัพยากรบุคคลและรัฐกิจสัมพันธ์
โรงเรียนนานาชาติคิซ อินเตอร์เนชั่นแนล
คุณภาพชีวิตมนุษย์ที่ดี เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนฝันถึง
เป็นไปตามหลักการทฤษฎีแขนงวิชาต่างที่จะทำการอธิบาย ไม่ว่าจะเป็นจะเป็น
สาขาวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ ฯลฯ เป็นต้น
การที่ประชากรส่วนใหญ่มีความต้องการชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คุณภาพชีวิตมีความหมายที่กว้างมาก เกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายสาขา และคุณภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อมและสภาวการณ์ต่าง
ๆ
นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร
ได้กำหนดองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตไว้แตกต่างกันออกไปโดยสามารถสรุปในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจได้
2 ส่วนใหญ่ๆได้ดังนี้ คือ
1. ส่วนของคุณภาพชีวิตระดับปัจเจกชน(ส่วนบุคคล)
1.1. มาตรฐานการครองชีพ ซึ่งประกอบไปด้วยความต้องการทางด้านร่างกายความต้องการขั้นพื้นฐานเบื้องต้น
อันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการดำรงชีพของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร น้ำ อากาศ
การพักผ่อนหลับนอน และความต้องการทางเพศ เป็นต้น
ความต้องการเหล่านี้จะต้องได้รับการตอบสนองจนเป็นที่พอใจก่อนความต้องการในระดับที่บุคคลได้รับความพอใจ
และความต้องการทางด้านความปลอดภัยในชีวิต (Safety needs)เป็นความต้องการพื้นฐานมาตราฐานในการครองชีพที่บุคคลจะพยายามหลีกนี้
อันตรายที่เกิดขึ้นทั้งนี้ทราบล่วงหน้าหรือไม่สามารถทราบได้เลยว่าจะเกิดอันตรายเกิดขึ้นมา
1.2. มาตรฐานทางการเงินและความมั่นคงในชีวิตและสังคม
ในส่วนนี้สามารถมองได้หลายประเด็น รายได้ต่อบุคคล (Per
Capita Income)จะ
ต้องเป็นรายได้ที่บุคคลได้รับรายได้เพียงพอที่จะสามารถเลี้ยงดูตัวบุคคลเอง
และ/หรือเพียงพอที่จะสามารถเลี้ยงดูบุคคลอื่นๆภายในครอบครัวได้
โดยสามารถจัดให้อยู่ในรูปของสิ่งของที่มีมูลค่าได้ เช่น อสังหาริมทรัพย์
ที่อยู่อาศัย ปัจจัยทุนในรูปแบบต่างๆ
หรือสามารถจัดให้อยู่ในรูปของสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่มีมูลค่า เช่น ชื่อเสียง
การได้รับความสำคัญจากสังคม ความน่าเชื่อถือต่างๆ ซึ่งความต้องการมีเกียรติยศมีศักดิ์ศรีในสังคมเป็นความต้องการที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของตนเองว่าตนเองมีประโยชน์มีคุณค่า
และต้องการให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของตน ยอมรับนับถือยกย่องตนว่าเป็นผู้มีชื่อเสียง
มีเกียรติยศ และมีศักดิ์ศรี
1.3. การศึกษาและหน้าที่การงาน
การ ศึกษาเป็นส่วนประกอบหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของของบุคคลดังจะเห็นได้จากใน
หลายๆ ประเทศได้มีการพัฒนาการศึกษามาโดยตลอด
มีการส่งเสริมทางทางการศึกษาให้ประชาชนในรัฐได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงรวม
ถึงประเทศไทยด้วยซึ่งสามารถเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่
ได้มีการเน้นกระตุ้นทางด้านการศึกษาพื้นฐานของเยาวชนให้ทั่วถึงตามเกณฑ์การ
ศึกษาภาคบังคับซึ่งเป็นการปรับวิทยาฐานะให้บุคคลทั่วไปได้รับความรู้เป็น
ความรู้พื้นฐานในการคิดวิเคราะห์เบื้องต้นในการดำเนินชีวิต
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงปากท้องและครอบครัวได้
1.4. สุขภาพร่างกายแข็งแรง
เป็นที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าควรที่จะต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรง
ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บไม่ให้มาเบียดเบียน เมื่อเรามีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
บุคคลนั้นๆก็จะได้รับความสุขในการดำเนินชีวิต เป็นหลักพื้นฐานในการดำรงชีวิต เพราะถ้าบุคคลมีสุขภาพดี
ร่างกายแข็งแรง มีโอกาสทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความสำเร็จสูงก่อให้เกิดความก้าวหน้าในชีวิต ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. ส่วนของคุณภาพชีวิตระดับมหภาค(ส่วนรวมในรัฐ)
2.1. การเปลี่ยนแปลงประชากร
ขนาดของประชากรประชากร จะต้องมีความสมดุลกับทรัพยากร
ถ้าประชากรเพิ่มมากขึ้นหรือลดน้อยลงจะทำให้มีผลต่อการบริโภคทรัพยากรต่างๆ ซึ่งถ้าประชากรเพิ่มขึ้นจะทำให้ทรัพยากรในการดำรงชีวิตไม่เพียงพอในการดำรง
ชีวิต จะก่อให้เกิดความยากจน ขาดแคลน คุณภาพชีวิตต่ำลง
อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่โครงสร้างประชากร อัตรา การเติบโตประชากร
โครงสร้างอายุประชากร อีกด้วย ดังนั้นรัฐจึงจะต้องเข้ามาช่วยเหลือจัดการ แนะนำวางแผนการ
การวางแผนครอบครัว ส่งเสริมความรู้เรื่องการคุมกำเนิด
หรือกระตุ้นการเพิ่มประชากรเมื่อประสบปัญหาอัตราการเจริญเติบโตของเด็ก
ลอน้อยลงกว่าเกณฑ์ เป็นต้น
2.2. ระบบสังคมวัฒนธรรม
และเศรษฐกิจ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์รูปแบบการปกครอง
กฎหมายต่างๆ แนวปฏิบัติอันเกิดจากความเชื่อความศรัทธา ที่เรียกว่า วัฒนธรรม
ระบบประเพณี ค่านิยม ที่ได้ผ่านการขัดเกลาจากรุ่นสู่รุ่น
สังคมและวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญของคุณภาพชีวิต
ดังนี้ระบบสังคม ค่านิยมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ของแต่ละชุมชนในระดับต่างๆ จึงไม่เหมือนกันสืบเนื่องมาจากกลุ่มบุคคล
ชุมชนนั้นเป็นผุ้กำหนดและได้ผ่านการขัดเกลาถ่ายทอดสืบสืบต่อกันมา
ดังจะเห็นได้ว่าประเพณีท้องถิ่น กลุ่มคนเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน
ประเทศแต่ละประเทศมีหลักการปฎิบัติที่แตกต่างกัน เช่น คนไทยใช้ช้อมส้อมในการรับประทานอาหาร
คนจีนใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร
เมื่อรัฐใช้อำนาจหน้าที่ในการปรับแก้ไขระบบเศรษฐกิจ
หรือสังคมควรจะต้องคำนึงถึงสภาพสังคมนั้นๆ
เพราะการที่สังคมมีขนมธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติมานั้นเป็นการสั่งสมเป็นระยะเวลานาน
ประเพณีบ้างประเพณีมีระยะเวลาในการสืบทอดมานับเป็นร้อยๆ ปี ก็เป็นไปได้
2.3. สาธารณูปโภคและการสังคมสงเคราะห์เป็นปัจจัยสำคัญของมาตรฐานในการดำรงชีวิต การที่จะให้ชุมชนดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขจะต้องให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการสาธารณสุข
และการใช้ภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ กับเด็กตามกำหนด จะทำให้สุขภาพของประชากรในแต่ละชุมชนดีขึ้นซึ่งมีนักวิชาการได้นิยาม
คำว่า “สาธารณสุข” คือศาสตร์และศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและจัดการสุขภาพทั้งปวงของชุมชนโดยอิงตามการวิเคราะห์ด้านสุขภาพของประชากร
คำว่าสุขภาพนั้นมีนิยามและจัดการในลักษณะต่างๆ กันจากหน่วยงานต่างๆ สำหรับองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานและเฝ้าระวังโรคทั่วโลก
ได้นิยามคำว่า สุขภาพ ไว้ว่า "สภาพของการมีชีวิตทางกายภาพ
ทางจิตใจ และทางสังคมที่สมบูรณ์
ไม่ใช้เพียงไม่มีโรคภัยหรือความแข็งแรงทางกายเท่านั้น"
2.4. การส่งเสริมการศึกษาและตลาดแรงงาน การที่รัฐเข้ามาส่งเสริม
กำหนดนโยบาลสารณะในประชากรในรัฐได้รับการศึกษาก็ทำให้บุคคลเหล่านั้นได้มี
การศึกษาเล่าเรียนแล้วก็จะส่งผลให้เกิดทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในตลาดแรงงาน
ทำให้บุคคลนั้นมีหน้าที่การงานในระดับที่แตกต่างกันออกไปตามสาขาวิชาชีพที่
ได้ทำการศึกษามานั้น การที่รัฐประเทศมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ
มีประสิทธิภาพในการทำงานก็จะส่งผลทำให้เกิดผลผลิตทางสังคมและเศรษฐกิจตามมา
การที่สังคมได้สวัสดิการทางสังคมส่วนเกินเป็นจำนวนมากจะทำให้บุคคลในสังคม
นั้นได้รับประโยชน์โดยรวมเพิ่มขึ้น
2.5. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง
ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
การมีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ ประชากรมีคุณภาพ
จะส่งผลให้การดำรงชีวิตมีคุณภาพ ประกอบด้วย ปัจจัย 5 ประการ
ประชากรที่มีสุขภาพดีมีความรู้อาหาร ทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาการค้า
เงินทุนหรือปัจจัยในการผลิต ทั้งปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ เวลา ค่าเสียโอกาส
อากาศและปัจจัยทางบริหารธุรกิจ ซึ่งทั้งนี้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์เพียงหนึ่งคนจะต้องมีการน้ำ
ดิน ป่าไม้ความสวยงามทางธรรมชาติ เป็นต้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แก้ไขปรับปรุง จากโครงร่างข้อมูลอ้างอิง
คำถาม
1.
จากการพิจารณาของท่าน
ท่านคิดว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับไหนที่สำคัญกว่ากัน ระหว่างระดับปัจเจกชน หรือ
ระดับมหภาค อย่างไร
2.
จงอธิบายความหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับปัจเจกชน
และ ระดับมหภาค ในมุมของท่าน พร้อมทั้งยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น