วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แนวทางการพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศ ยุค 4.0



การพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศไทยในยุคปัจจุบัน จะต้องตระหนักถึงกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เปลี่ยนแปลงทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งด้านสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจโลก ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันเหล่านี้มีผลต่อกการเปลี่ยนแปลงของพลวัตด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ด้านใหญ่ ได้ดังนี้คือ
ด้านเศรษฐกิจ
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลที่มาจากการเปลี่ยนแปลงประเทศต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคที่มีนโยบายทางเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การออกจากการเป็นสมาชิก การใช้มาตราการต่างๆ ฯลฯ ซึ่งสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่จะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจโลก ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
ทั้งนี้ภาครัฐจะต้องเข้ามามีส่วนรวมในการบริหารจัดการกำหนดนโนบาย ในการที่จะพัฒนาผลิตภาพแรงงานในมีความรู้ความสามารถทั้วถึงเสมอภาค เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญแก่การพํฒนาประเทศในมีความแข็งแกร่งด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันและสามารถต่อรองกันประเทศต่างๆ ได้ในเวทีโลก ทั้งนี้จะต้องในภาครัฐช่วยกระตุ้นการส่งเสริมผู้ประกอบการที่เข้มแข็งและพาณิชย์ดิจิตอลในยุคการสร้างนวัตกรรมอยู่อย่างตลอดเวลาในปัจจุบัน พร้อมทั้งจะต้องปรับปรุงการคมนาคม การสื่อสารการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุนและการพัฒนาประเทศอย่างยันยืนต่อไป
ด้านสังคมและประชากร
                สังคมและประชากรของประเทศในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนทำให้โครงสร้างประชากรในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นการเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย ซึ่งสาเหตุนี้จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตที่สำคัญต่อมา เช่นรัฐบาลจะต้องจัดหาสวัสดิการสังคม และการสาธารณสุข การรักษาพยาบาลต่างๆ เหล่านี้เพื่อให้เหมาะสมกับอัตราประชากรสูงวัย ทังนี้ภาครัฐ่ต้องตระเตรียมกำลังแรงงานในเพิ่มสูงขึ้น เพี่มหรือกระตุ้นสถาบันครอบครัวให้จำนวนสัดส่วนประชากรของประเทศในวัยเด็กในมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น เพื่อสที่จะมาเป็นกำลังแรงงานในอนาคตถัดต่อไปอีกในรุ่นถัดๆ ไป ซึ่งจะทำให้สังคมไทยมีความมั่นคงทางสังคมมากขึ้น อีกทั้งยังจะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม ส่งเสริมงานด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในก้าวหน้าเท่าทันนานาอารยประเทศตลอดเวลา