วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความเป็นธรรมเรื่องโลกร้อน

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความเป็นธรรมเรื่องโลกร้อน

เวลาเหลือน้อย - อย่าฝากความหวังกับนักการเมืองและนายทุน

เป็นเวลากว่า 20 ปีที่โลกตระหนักว่าวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกที่ ต้องร่วมมือกันแก้ไขและมีการก่อตั้ง "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" (UNFCCC: United Nations Framework Convention on Climate Change) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 เพื่อเป็นเวทีเจรจาของรัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกในการหาทางออกร่วมกัน  อย่างไรก็ตาม แม้การประชุมภาคีอนุสัญญา (COP: Conference of the Parties) จะผ่านมา 18 ครั้งแล้ว แต่ดูเหมือนการเจรจาระหว่างประเทศ ยังคงไม่ออกดอกออกผลเป็นรูปธรรมพอที่จะแน่ใจได้ว่ามนุษย์จะหยุดวิกฤตดัง กล่าวได้ ทั้งที่เรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นผลต่อเนื่องจากภาวะโลกร้อนซึ่งเลว ร้ายขึ้นทุกปี  
ประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีความรับผิดชอบในการเร่งลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก กลับไม่ดำเนินการอย่างจริงจังในการลดการปล่อยก๊าซฯ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ครั้งเริ่มต้นเจรจาอนุสัญญาฯ ซ้ำร้ายกลับมีความพยายามจากประเทศเหล่านั้นและอุตสาหกรรมสกปรกในการทำให้ เป้าหมายหยุดโลกร้อนร่วมกันของโลกอ่อนแอลง ด้วยการไม่ยอมผูกพันตัวเองทางกฎหมายด้วยเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซฯ ซึ่งเป็นกรอบที่ตั้งขึ้นร่วมกันภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นอนุสัญญาฯ แต่อ้างว่าจะดำเนินการเองโดยสมัครใจ และชักชวนประเทศอื่นๆ ให้เห็นด้วยกับแนวคิด "ไม่ต้องบังคับ-จะทำเองโดยสมัครใจ" นี้ โดยอ้างว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ประเทศกำลัง พัฒนาเพื่อไว้ใช้ตั้งรับปรับตัวกับโลกร้อน แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เห็นเม็ดเงินที่ว่านี้  ยิ่งไปกว่านั้น กลไกตลาด (ซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต) เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซฯ (offset) ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ประเทศพัฒนาแล้วซึ่งต้องลดการปล่อยก๊าซ "มีความยืดหยุ่น" ในการลดมากขึ้น กลับทำให้การดำเนินมาตรการลดการปล่อยก๊าซฯ ที่ต้นตออย่างแท้จริงชะงักงัน ซื้อเวลาให้อุตสาหกรรมสกปรกปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกต่อไป ในขณะที่โครงการต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาอันเป็นผลพวงจากระบบดังกล่าวได้ก่อปัญหาต่อ ชุมชนท้องถิ่นและสภาพแวดล้อม - สวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น  ขณะเดียวกัน ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายก็พยายามยกสิทธิในการพัฒนาให้เท่าเทียมมาเป็นข้อ อ้างในการเดินหน้าใช้ทรัพยาการและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปอย่างไม่ลืมหูลืม ตาเพื่อก้าวตามวิถีการผลิตและการบริโภคที่เห็นแล้วว่าทำให้โลกขาดสมดุลย์ ซ้ำยังกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนจำนวนมาก 
คงไม่มีใครปฏิเสธอีกต่อไปว่าโลกกำลังร้อนขึ้นจนอาจถึง หายนะและการหยุดวิกฤตนี้เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของมวลมนุษยชาติ แต่ประสบการณ์กว่าสองทศวรรตสอนว่าหากเราไม่อยากเห็นหายนะ เราไม่ควรฝากความหวังไว้ที่การเจรจาระดับโลกที่ขับเคลื่อนโดยรัฐบาลและ นักการเมืองซึ่งได้รับการสนับสนุนหรือแม้กระทั่งครอบงำโดยอุตสาหกรรมสกปรก และบรรษัทที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจมหาศาล 

ผลักดันโลกเย็นที่เป็นธรรมด้วยนโยบายระดับชาติ

ถึงเวลาที่เราต้องลุกขึ้นมาผลักดันการ เปลี่ยนแปลง และแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับปัจเจคบุคคลจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่ทางออกของวิกฤตโลกร้อนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นต้องการการ เปลี่ยนแปลงทางนโยบายซึ่งเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาต่างๆ เข้ากับมิติการพัฒนารูปแบบใหม่ที่จะนำพาไปสู่สังคมที่ดีและเป็นธรรม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศ เพื่อที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระดับโลกต่อไป
ประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตได้เป็นจำนวน มากควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชนได้ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยการสร้างนโยบายเพื่อรับมือกับวิกฤตโลกร้อนที่ให้ความสำคัญกับการลดโลก ร้อนที่ต้นตอของปัญหาแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมและสนับสนุนการตั้งรับและปรับตัวต่อวิกฤตโลกร้อนของกลุ่มคนในสังคม ที่มีความเสี่ยงและความอ่อนไหวต่อผลกระทบจากโลกร้อนสูง สะท้อนความเป็นธรรม มีความเชื่อมโยงกับนโยบายอื่นๆ และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมและสิทธิของชุมชนในการเป็นเจ้าของและจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 

ประเด็นสำคัญ

ประเด็นดังต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญในการรับมือกับวิกฤตโลก ร้อนในแง่มุมต่างๆ ทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ซึ่งในการกำหนดนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นธรรมจำเป็นจะ ต้องสร้างความเชื่อมโยงสอดคล้องระหว่างประเด็นและนโยบายรายประเด็นเหล่านี้ เพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล
"การซื้อ-ขายคาร์บอนและแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต" - ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาโลกร้อน แต่เป็นการประวิงเวลาและทำให้ปัญหาบานปลาย จึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการลดโลกร้อนที่ต้นตอของปัญหา
"พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลและอุตสาหกรรม" - เป็นตัวการสำคัญของภาวะโลกร้อน จึงถึงเวลาต้องเปลี่ยนผ่านจากสังคมที่พึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่ สังคมที่ใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืนซึ่งคำนึงถึงต้นทุนที่แท้จริงทาง ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างรอบด้าน โดยไม่อ้าง "คาร์บอนต่ำ" มาใช้เลือกพลังงานที่ไม่ยั่งยืนและอันตราย เช่น พลังงานนิวเคลียร์ เขื่อนขนาดใหญ่ พลังงานจากขยะ และถ่านหิน พร้อมทั้งหยุดขยายอุตสาหกรรมและโครงการขนาดใหญ่ซึ่งก่อมลพิษ ก๊าซเรือนกระจก และทำลายป่าไม้และฐานทรัพยากร
"ป่าไม้" - ถูกมองว่าเป็นแหล่งดูดซับและเก็บกักคาร์บอนซึ่งจะช่วยลดการสะสมของก๊าซ เรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ จึงมีความพยายามนำป่าไม้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการชดเชยการปล่อยกคาร์บอน แต่ป่าไม้มีความสำคัญมากกว่านั้นด้วยเป็นทั้งแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพและ กำหนดระบบนิเวศน์ ทั้งยังเป็นที่อยู่ของประชากรโลกอีกจำนวนมากซึ่งมักไม่ค่อยมีพื้นที่ในสังคม การรักษาป่าธรรมชาติอย่างเป็นธรรมจึงต้องเคารพและส่งเสริมสิทธิชุมชนท้อง ถิ่นในการเป็นเจ้าของและจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
"เกษตรกรรม" - เป็นภาคที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจนใน ภาคเกษตร เกษตรกรรมคือความมั่นคงทางอาหารของประชากรโลก ในขณะเดียวกันระบบเกษตรอุตสาหกรรมเคมีเข้มข้นปัจจุบันก็เป็นตัวการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกและก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การเปลี่ยนผ่านสู่เกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์ที่คำนึงถึงวิถีชีวิตและวัฒ ณธรรมของชุมชนบนพื้นฐานทรัพยากรและสภาพที่เหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น เพื่อการผลิตอาหารที่ดี ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรสามารถตั้งรับและปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด ขึ้นได้อย่างยั่งยืน

 

ภาคพลังงานและอุตสาหกรรม - ถึงเวลาคิดใหม่ให้เป็นธรรม


ภาคพลังงานและอุตสาหกรรม - ถึงเวลาคิดใหม่ให้เป็นธรรม


ภาคพลังงานสำคัญกับโลกเย็นอย่างไร

เนื่องจากภาคพลังงานและอุตสาหกรรมเป็นภาคการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก มากที่สุดเมื่อเทียบกับสาขาอื่นๆ ทั้งในระดับประเทศไทยและระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพลังงานที่ใช้กันอยู่ส่วนใหญ่ในโลกยังมาจากเชื้อเพ ลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ) ซึ่งเป็นตัวการหลักของภาวะโลกร้อน ในขณะที่การได้มาซึ่งพลังงานเหล่านี้ก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพ และสร้างความขัดแย้งในชุมชนท้องถิ่นหลายพื้นที่ จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทั้งสองภาคการผลิตนี้อย่างมากโดยเฉพาะในแง่การ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือ จะต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษที่ แหล่งกำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และกิจกรรมอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานอย่างเข้มข้น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดและเร่งด่วนขณะนี้คือ “การเปลี่ยนผ่านจากสังคมที่พึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่สังคมที่ใช้ พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน” ในขณะเดียวกัน ทางเลือกพลังงานที่เป็นธรรมจะต้องคำนึงถึงต้นทุนที่แท้จริงทางด้านสิ่งแวด ล้อมและสังคมอย่างรอบด้าน และไม่เอาข้ออ้าง "คาร์บอนต่ำ" มาใช้เลือกพลังงานที่ไม่ยั่งยืนและอันตราย เช่น พลังงานนิวเคลียร์ เขื่อนขนาดใหญ่ พลังงานจากขยะ และถ่านหิน(ซึ่งตั้งชื่อใหม่ว่าถ่านหินสะอาด) เพราะพลังงานเหล่านี้มีต้นทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์สูงมาก

รูปธรรมทางเลือกพลังงานไทยเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม

สำหรับประเทศไทยซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 27 ของโลก มีภาคพลังงานเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือประมาณ 70% ของการปล่อยก๊าซทั้งหมดของประเทศ รองลงมาคือภาคเกษตร และภาคกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมตามลำดับ  และเมื่อพิจารณาตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในภาคพลังงาน จะพบว่าเกือบครึ่ง (42%) มาจากการผลิตไฟฟ้าซึ่งใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก รองลงมาคือการปล่อยก๊าซจากภาคพลังงานมาจากการใช้พลังงานในภาคขนส่ง (ซึ่งใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) และการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้าง ดังนั้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญกับภาค พลังงานและอุตสาหกรรมเป็นพิเศษ  ทั้งนี้ เครือข่ายประชาชนและคณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรมได้มีข้อเสนอเพื่อ เร่งแก้ปัญหาโลกร้อนระดับนโยบายในภาคพลังงานและอุตสาหกรรมอย่างเป็นธรรม มี ใจความสำคัญคือ
หยุดการพัฒนากลไกตลาดเพื่อการชดเชยคาร์บอนและการค้าคาร์บอน แต่กลับมาให้ความสำคัญกับการลดก๊าซเรือนกระจกที่แหล่งกำเนิดโดยการเลิกใช้ พลังงานฟอสซิล ปฏิรูปให้มีการเข้าถึงพลังงานสะอาดได้อย่างเท่าเทียมในสังคม และส่งเสริมการวางแผนและกระจายการผลิตไฟฟ้าระดับชุมชนที่ให้ประชาชนมีส่วน ร่วม ทั้งนี้ ต้องควบคุมและหยุดขยายอุตสาหกรรมและโครงการขนาดใหญ่ซึ่งก่อมลพิษรวมทั้งก๊าซ เรือนกระจกสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ โรงไฟฟ้าถ่านหิน และเหมืองแร่ เป็นต้น พร้อมทั้งต้องหยุดโครงการพัฒนาใดๆ ที่จะทำลายป่าไม้และฐานทรัพยากรซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารทั้งใน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
ข้อเสนออย่างเป็นรูปธรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการผลิต ไฟฟ้า คือการรื้อแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) ซึ่งกำหนดประเภทเชื้อเพลิงและแหล่งพลังงานไฟฟ้าของประเทศ โดยจัดทำแผน PDP ใหม่ด้วยกระบวนการที่โปร่งใส ให้ประชาชนมีส่วนร่วม พร้อมทั้งเสนอให้ยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เขื่อนขนาดใหญ่ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่บรรจุอยู่ในแผนฯปัจจุบัน เพื่อเปิดทางเลือกให้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) อื่นๆ พร้อมทั้งต้องกำหนดเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวหน้าบนพื้น ฐานศักยภาพที่แท้จริงของแหล่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย ในขณะเดียวกันต้องส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงาน (Energy Efficiency) โดยให้นำนโยบายของรัฐที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ "แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554-2573)" และ "แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564)" มาผนวกให้สอดคล้องกับการวางแผน PDP

 

ป่าไม้ไม่ใช่ต้นดูดคาร์บอน - เคารพสิทธิชุมชนในการรักษาป่า


ป่าและคนกำลังถูกคุกคาม

"ป่าไม้" ถือเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนตามธรรมชาติด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไรก็ตาม ป่าไม้ ไม่ได้มีค่าเป็นเพียงแค่ "ต้นดูดคาร์บอน" เท่านั้น แต่ป่ายังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ถือเป็นแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพตามระบบนิเวศน์ในแต่ละพื้นที่ ที่สำคัญ ผืนป่าจำนวนมากเป็นที่อยู่ของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งยังเป็นแหล่งอาหารของชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบ ถึงการบุกรุกทำลายป่าจะเป็นปัญหาใหญ่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่สิ่งที่คนไม่ค่อยรู้ก็คือ ยังมีชุมชนจำนวนมากซึ่งหาอยู่หากินภายในป่าและรอบๆป่าโดยเฉพาะป่าเขตร้อนใน ประเทศกำลังพัฒนา ด้วยวัฒณธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งดำรงค์อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาหลาย ชั่วอายุคน ชุมชนเหล่านี้เป็นผู้รักษาและดูแลป่าโดยปริยายตามวิถีชีวิตซึ่งสอดคล้องกับ ธรรมชาติ  
อย่างไรก็ตาม ชุมชนเหล่านี้มักพบปัญหาเมื่อรัฐหลายประเทศประกาศเขตป่าอนุรักษ์ทับซ้อน ชุมชนและที่ดินทำกินดั้งเดิมโดยไม่เคารพสิทธิของเขาเหล่านั้น ทั้งที่ในอีกด้านหนึ่งรัฐก็มีการให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนในการเข้าไปตัดไม้ หรือจัดการพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์เนื้อไม้ เป็นต้น  ยิ่งไปกว่านั้น ทุกวันนี้พื้นที่ป่าไม้กำลังถูกคุกคามจากกิจกรรมต่างๆ ในนามการพัฒนา เช่น การขยายตัวของพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว/เกษตรอุตสาหกรรมรุกเข้าไปในพื้นที่ป่า การสัมปทานเหมืองแร่ทั้งบนดินและใต้ดินในเขตป่า การสร้างรีสอร์ทท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบถึงชุมชนที่อยู่กับป่าด้วย สถานการณ์เหล่านี้ เป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับประเด็นโลกร้อนโดยตรง เนื่องจากทำให้วิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่นที่เอื้ออิงกับทรัพยากรธรรมชาติและ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ยั่งยืนน้อยลง และทำให้ชุมชนมีความสามารถในการตั้งรับปรับตัวกับผลกระทบที่จะเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยลง

ภาคป่าไม้กับความไม่เป็นธรรมในการแก้ปัญาหาโลกร้อน

เมื่อแนวคิดการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขยายไปสู่ภาค ป่าไม้ผ่านกลไกที่เรียกว่า "เรดด์" (REDD: Reducing Emission from Deforestation and Forest Degradation in Developing Countries) หรือ "การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าใน ประเทศกำลังพัฒนา" กล่าวคือ ให้ประเทศกำลังพัฒนารักษาป่าไว้เพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน ทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมการปลูกป่าหรือฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม แล้วคำนวนปริมาณคาร์บอนนั้นออกมาเป็นคาร์บอนเครดิต เพื่อขายให้กับผู้มีเงินซื้อตามกลไกตลาด หรือมอบให้กับผู้ที่มีเงินให้การสนับสนุนโครงการนั้นๆตามกลไกกองทุน (ซึ่งปัจจุบันนี้ยังตกลงกันไม่ได้ว่าจะใช้กลไกตลาดหรือกองทุนอย่างใดอย่าง หนึ่งหรือทั้งสองอย่าง) 
เมื่อมีการเริ่มทำโครงการทดลองภายใต้กลไกเรดด์นี้ จึงเกิดปัญหามากมายตามมาในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะปัญหา การช่วงชิงกรรมสิทธิที่ดินของผืนป่าดั้งเดิม หรือป่าเสื่อมโทรมเพื่อทำโครงการปลูกป่า เกิดการรอนสิทธิชุมชนดั้งเดิมที่อยู่ในป่าและดูแลรักษาป่าอยู่แล้วและผลัก ดันให้ชุมชนเหล่านั้นย้ายออกไปเพื่อให้รัฐหรือบริษัทจะได้เข้าไปทำโครงการฯ ในหลายกรณีพบว่ามีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่และอาวุธกับชุมชน ซ้ำยังพบว่ามีการตัดไม้ในเขตป่าดั้งเดิมเพื่อให้กลายเป็นป่าเสื่อมโทรมเพื่อ ที่จะสร้างโครงการปลูกป่าในพื้นที่นั้นอีกทีหนึ่ง ซึ่งปัญหาเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศทั้งในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชีย 
สำหรับประเทศไทยเอง รัฐใช้เครื่องมือทางกฎหมายฟ้องคดีอาญาและแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายกับชาวบ้าน ที่มีที่ทำกินและอยู่อาศัยทับซ้อนกับเขตป่า ด้วยการกล่าวหาว่าทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (จากการทำไร่ทำสวน) จนเป็นที่รู้จักกันในนาม "คดีโลกร้อน"  ทั้งนี้ ไทยไม่ได้เป็นประเทศแรกที่เอาผิดทางอาญากับเกษตรกรรายย่อยจำนวนมากที่อาศัย อยู่ในป่า ในประเทศอินโดนีเซียและส่วนอื่น ๆ ของโลกก็มีการตั้งข้อหา “บุกรุกพื้นที่อนุรักษ์” เช่นเดียวกัน แต่อย่างน้อยไทยก็น่าจะเป็นประเทศเดียวที่เจาะจงกล่าวหาว่าเกษตรกรที่มีราย ได้น้อยและตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม เป็นอาชญากรโลกร้อน ในขณะที่ นักค้าไม้รายใหญ่ เจ้าของสวนป่าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ หรือบรรดาโรงงานอุตสาหกรรม อาคารขนาดใหญ่ หรือหน่วยงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มข้นอื่น ๆ กลับไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีให้ต้องรับผิดชอบต่อการปล่อยคาร์บอนหรือการ ทำลายสิ่งแวดล้อม 
ปัญหาจากการดำเนินการเตรียมขายคาร์บอนเครดิตจากป่าเหล่า นี้ สะท้อนความไม่เป็นธรรมที่เกิดจากกลไกและนโยบายที่อ้างว่าสร้างขึ้นมาแก้ ปัญหาโลกร้อน แต่ในทางปฏิบัติกลับริดรอนสิทธิชุมชนท้องถิ่นซึ่งมีกำลังทรัพย์และต้นทุนทาง สังคมไม่เพียงพอที่จะต่อกรกับอำนาจรัฐและเงินของบรรษัท 

ชุมชนรักษาป่า... เพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม

เครือข่ายประชาชนและคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรมได้มีข้อ เสนอเพื่อเร่งแก้ปัญหาโลกร้อนระดับนโยบายในภาคป่าไม้ บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่นในการเป็นเจ้าของและจัดการทรัพยากร ธรรมชาติทั้งหลายรวมทั้งป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยเห็นว่าควรมีการปฏิรูปกฏหมายด้านทรัพยากรเพื่อคุ้มครองสิทธิชุมชนและชน เผ่าพื้นเมือง และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเรื่องที่ดินระหว่างภาครัฐกับชุมชนอันเนื่องมา จากการประกาศเขตป่าทับซ้อนป่าชุมชน, พื้นที่ทำกิน, และที่อยู่อาศัยของชุมชน ด้วยการจำแนกเขตเหล่านี้ออกจากเขตป่าอนุรักษ์ให้ชัดเจนอย่างเร่งด่วนนี่สุด ในขณะเดียวกันรัฐต้องยุติการไล่รื้อ ฟันทำลายพืชผล จับกุมดำเนินคดีกับเกษตรกรและชุมชนที่อยู่ในป่าอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ ด้วยความกังวลว่ากลไกเรดด์อาจถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลใช้กีดกัน ชุมชนออกจากป่า จึงเสนอให้ไม่นำกลไกดังกล่าวมาใช้กับพื้นที่ที่ยังมีปัญหาข้อพิพาทเรื่อง สิทธิที่ดินระหว่างภาครัฐกับชุมชน
การแก้ปัญหาโลกร้อนจะต้องยึดหลักลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกที่แหล่งกำเนิด จึงไม่ควรนำภาคป่าไม้เข้าไปอยู่ในกลไกตลาดเสมือนหนึ่งจะให้ป่ามาลดการปล่อย ก๊าซฯ แทนอุตสาหกรรม โดยเฉพาะป่าไม้ที่มีชุมชนดูแลอยู่ก่อนแล้ว ก็ควรเคารพสิทธิของชุมชนและส่งเสริมสนับสนุนการรักษาป่าอย่างยั่งยืนตามวิถี ชีวิตของเขาเหล่านั้น ทั้งนี้ เพื่อรักษาผืนป่าที่มีอยู่ในปัจจุบันให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน จึงถึงเวลาต้องยกเลิกการสร้างโครงการที่นำไปสู่การทำลายป่าไม้ เช่น การให้สัมปทานเมืองแร่และโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและป่าสงวน การให้สิทธิเช่าที่ดินป่าสงวนกับภาคเอกชนเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่ ป่าพรุ เป็นต้น

ที่มา http://www.thaiclimatejustice.org/topics/forestry

อย่าให้โลกร้อนคุกคามเกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร





โลกร้อนกระทบเกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร

ขณะนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าทุกทวีปทั่วโลกกำลังเผชิญกับสภาพ อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว (extream weather events) และภาวะโลกร้อนจะทำให้สภาพดังกล่าวเกิดบ่อยขึ้น สาหัสขึ้น และคาดเดาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ภูมิภาคที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงรุนแรงที่สุดคือในเขตร้อน/ใกล้ เขตร้อน (tropics/subtropics) ดังนั้นประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ของโลกที่ตั้งอยู่ในเขตเหล่านั้นจึงมีความ อ่อนไหว (vulnerability) ต่อการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด  โดยมีภาค "เกษตรกรรม" เป็นภาคการผลิตที่อ่อนไหวมาก เนื่องเพราะทั้งอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้น สภาวะแล้งและการขาดแคลนน้ำที่จะเพิ่มขึ้น และสภาพอากาศที่แปรปรวนนั้นเป็นปัจจัยซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเกษตรกรรายย่อยและชาวประมงชายฝั่งพื้นบ้าน ซึ่งมีวิถีการผลิตที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมาก 
ที่สำคัญ ผลกระทบจากโลกร้อนต่อระบบเกษตรไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกับเกษตรกรในชนบทเท่า นั้น แต่ยังส่งผลต่อเนื่องถึงทุกคนบนโลกรวมทั้งคนเมืองด้วย เนื่องจากเกษตรกรรมคือระบบผลิตอาหารให้กับมนุษย์ หากระบบเกษตรล่มสลาย นั่นหมายถึงการสั่นคลอนความมั่นคงทางอาหารของสังคมมนุษย์ด้วย 

วิกฤตอาหาร - คนจนอดตาย

วิกฤตสภาพอกาศในปี 2555 ที่ผ่านมาทำให้เราเห็นภาพปัญหานี้ชัดเจนขึ้น เพราะภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วทุกทวีปกระทบต่อประเทศซึ่งเป็นผู้ผลิตธัญพืชราย ใหญ่ของโลกเช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย รัสเซีย และอเมริกาใต้ ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำลงอย่างมาก ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้นจนเกือบจะเท่าวิกฤตราคาอาหารเมื่อปี 2553 ซึ่งในครั้งนั้นเป็นเหตุให้เกิดจลาจลในกว่า 12 ประเทศ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ทั่วโลกเริ่มตื่นตัวในเรื่องผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ออกมาเตือนว่าราคาอาหารของโลกไม่มีทีท่าว่าจะลดลงและคาดการณ์ว่าราคาธัญพืช อาหารหลักของประชากรโลกได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี และข้าว มีแนวโน้มจะสูงขึ้นกว่า 1 ถึง 2 เท่าตัวภายในปี 2573 โดยมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยถึง 1/3 หรือครึ่งหนึ่ง และปัจจัยอื่นๆ เช่นการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกและการขยายตัวของชนชั้นกลางในประเทศกำลัง พัฒนาที่มีกำลังบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการอาหารของโลกเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่อุปทานลดลงส่งผลให้ราคา อาหารโลกโดยรวมเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ พบว่าผลกระทบจากวิกฤตราคาอาหารนั้นรุนแรงมากขึ้นในประเทศที่นำเข้าธัญญพืช และอาหารเป็นส่วนใหญ่โดยที่ไม่สามารถพึ่งพาการผลิตในประเทศได้ เพราะราคาอาหารจะผันผวนตามราคาโลก
ผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตนี้คือคน จนในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากค่าใช้จ่ายกว่า 75% ของรายได้ที่น้อยอยู่แล้วหมดไปกับการซื้ออาหาร ดังนั้นการที่ราคาอาหารเพิ่มขึ้นเพียงนิดเดียวจะทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับ ค่าใช้จ่าย เป็นปัญหาถึงปากท้องและความอยู่รอดของครอบครัว 

อุตสาหกรรมเกษตรเคมีซ้ำเติมโลก?

ภาคเกษตรไม่ใช่ภาคที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย โดยเฉพาะ "ก๊าซมีเธน" ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ตามธรรมชาติของแบคทีเรียบางชนิดในสภาวะ ไม่มีอากาศ (เช่น นาข้าวแบบน้ำขัง การย่อยอาหารของสัตว์) และ "ก๊าซไนตรัสออกไซด์" ซึ่งเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติในดินและมูลสัตว์ กระบวนการหายใจของพืชปล่อย "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์"  แต่ก็มีการดูดกลับไปใช้ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง ทั้งนี้ การไถพรวนเปิดหน้าดินหรือการหักร้างถางพงพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรเป็นการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศด้วย 
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรปัจจุบันอยู่ที่ระบบเกษตรอุตสาหกรรม เคมีที่เน้นการผลิตเชิงปริมาณและใช้ปัจจัยเพื่อเร่งผลผลิตอย่างเข้มข้นซึ่ง ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมหาศาล เช่น การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรเพิ่มการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ และปศุสัตว์อุตสาหกรรมซึ่งก่อให้เกิดก๊าซมีเธนจำนวนมาก นอกจากนี้การใช้พลังงานทั้งทางตรงและทางอ้อม (เพื่อผลิตปุ๋ยและสารเคมี เพื่อขนส่ง) ในกิจกรรมการเกษตรอย่างเข้มข้นก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่ม ขึ้น นอกจากจะเป็นต้นตอการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาลแล้ว ระบบเกษตรอุตสาหกรรมซึ่งใช้เคมีเข้มข้นยังขูดรีดทรัพยากร เช่นความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดิน ทรัพยาการน้ำ ในขณะที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของคนรวมถึงผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลเชิงลบต่อความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ เกษตรกรเพราะต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกเป็นส่วนมาก ทั้งเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ฯลฯ จึงทำให้เกษตรกรปรับตัวได้ช้าเมื่อต้องเผชิญภาวะภัยพิบัติ
เนื่องจากกระบวนการผลิตทางการเกษตรเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารและวิถีชีวิตของคนชนบท ทั้งการทำเกษตรในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งประชากรจำนวนมากมีอาชีพในภาคเกษตรแต่ โดนกล่าวหาว่าเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็ป้อนปากท้องของคนทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วที่การผลิตทางการ เกษตร/อาหารน้อยลง ดังนั้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรจึงเป็นเรื่องซับซ้อนที่ควร พิจารณาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่ามีต้นตอที่แท้จริงมาจากอะไร วิถีเกษตรอย่างไรที่จำเป็น หรืออย่างไรที่เกินจำเป็นไม่ยั่งยืน และควรปรับเปลี่ยนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อ ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตอื่น และเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

เตรียมรับมือความเปลี่ยนแปลงด้วยองค์ความรู้ท้องถิ่น

เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนและภัยพิบัติที่จะเกิดเพิ่มขึ้น การภาวะโลก้รอนนั้นยากที่จะคาดเดาว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนอย่างไรและเมื่อไหร่ เพราะเป็นเรื่องผลกระทบระยะยาวซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง การจะให้ภาคเกษตรสามารถตั้งรับและปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างยั่งยืนจึงต้องมีการเตรียมพร้ออย่างเป็นระบบ เพื่อให้คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่นอกเหนือจากคาดการณ์ ได้ทันท่วงที 
ทั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดมีลักษณะเฉพาะพื้นที่ ทั้งระบบเกษตรกรรมของแต่ละท้องถิ่นยังมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยทางกายภาพ สังคม และวัฒนธรรม การให้เกษตรกรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อนจึงต้องคำนึงถึงปัจจัย เหล่านี้เป็นสำคัญ ดังนั้นรัฐต้องสนับสนุนและสร้างกลไกการตั้งรับปรับตัวอย่างเป็นรูปธรรมและ ทันท่วงทีให้กับประชาชนที่อยู่ในกลุ่มอ่อนไหวที่จะได้รับผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ชุมชนประมงพื้นบ้านขนาดเล็กและเกษตรกรรายย่อย โดยคำนึงถึงศักยภาพ องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและสังคม ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและการสร้างศักยภาพของชุมชนเพื่อเตรียม รับมือและปรับตัวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

เกษตรกรรมผลิตอาหารเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม 

มีการศึกษาอย่างกว้างขวางว่าเกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์ลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรอุตสาหกรรมเคมี เช่นในสหภาพยุโรปและสวิตเซอร์แลนด์พบว่าฟารม์เกษตรอินทรีย์ใช้พลังงานเพียง 30-60% ของฟาร์มเกษตรเคมี ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซฯจากการใช้พลังงาน สำหรับประเทศไทย มีการประเมินเบื้องต้นของมูลนิธิสายใยแผ่นดินว่า แค่การเลิกใช้ปุ๋ยเคมีในการทำเกษตรอินทรีย์ก็สามารถลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกได้ 243.9 กิโลกรัมคาร์บอนต่อไร่ ทั้งนี้ เกษตรอินทรีย์ยังลดการเกิดก๊าซมีเธนด้วยการส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์ที่ใช้ อากาศในการย่อยสลายฯ เปลี่ยนอาหารสัตว์ หลีกเลี่ยงการเผาอินทรีย์วัตถุ ฯลฯ และลดการเกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ เนื่องจากไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งเป็นปุ๋ยเคมี ปรับโครงสร้างดินด้วยอินทรีย์วัตถุ ลดการสะสมของไนโตรเจนในดินเกินจำเป็นและลดการเกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ เป็นต้น อีกทั้งการลดการไถพรวนและการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ยังช่วยเพิ่มความสามารถของดินในการตรึงและเก็บกักคาร์บอนตามธรรมชาติ และช่วยรักษาหน้าดินอีกด้วย นอกจากนี้ ระบบเกษตรยั่งยืนที่เอื้ออิงกับระบบนิเวศน์ของแต่ละท้องถิ่น โดยเน้นการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ การรักษาและคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น ยังช่วยรักษาสมดุลย์ของระบบนิเวศน์ ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของสังคม
ภาคเกษตรสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขณะ เดียวกันก็เตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ได้ โดยที่รัฐควรส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านภาคเกษตรของประเทศไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืน และเกษตรอินทรีย์ ที่คำนึงถึงวิถีชีวิตและวัฒณธรรมของชุมชนบนพื้นฐานทรัพยากรและสภาพที่เหมาะ สมของแต่ละท้องถิ่น เพื่อการผลิตอาหารที่ดี ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเมล็ดพันธุ์/สัตว์พื้นบ้าน เพื่อสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและการตั้งรับปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ส่งเสริมการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำ และคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ผลิตอาหารไม่ให้ถูกคุกคามโดย อุตสาหกรรมและการปลูกพืชพลังงาน

ที่มา http://www.thaiclimatejustice.org/topics/agriculture