วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ป่าไม้ไม่ใช่ต้นดูดคาร์บอน - เคารพสิทธิชุมชนในการรักษาป่า


ป่าและคนกำลังถูกคุกคาม

"ป่าไม้" ถือเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนตามธรรมชาติด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไรก็ตาม ป่าไม้ ไม่ได้มีค่าเป็นเพียงแค่ "ต้นดูดคาร์บอน" เท่านั้น แต่ป่ายังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ถือเป็นแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพตามระบบนิเวศน์ในแต่ละพื้นที่ ที่สำคัญ ผืนป่าจำนวนมากเป็นที่อยู่ของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งยังเป็นแหล่งอาหารของชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบ ถึงการบุกรุกทำลายป่าจะเป็นปัญหาใหญ่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่สิ่งที่คนไม่ค่อยรู้ก็คือ ยังมีชุมชนจำนวนมากซึ่งหาอยู่หากินภายในป่าและรอบๆป่าโดยเฉพาะป่าเขตร้อนใน ประเทศกำลังพัฒนา ด้วยวัฒณธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งดำรงค์อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาหลาย ชั่วอายุคน ชุมชนเหล่านี้เป็นผู้รักษาและดูแลป่าโดยปริยายตามวิถีชีวิตซึ่งสอดคล้องกับ ธรรมชาติ  
อย่างไรก็ตาม ชุมชนเหล่านี้มักพบปัญหาเมื่อรัฐหลายประเทศประกาศเขตป่าอนุรักษ์ทับซ้อน ชุมชนและที่ดินทำกินดั้งเดิมโดยไม่เคารพสิทธิของเขาเหล่านั้น ทั้งที่ในอีกด้านหนึ่งรัฐก็มีการให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนในการเข้าไปตัดไม้ หรือจัดการพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์เนื้อไม้ เป็นต้น  ยิ่งไปกว่านั้น ทุกวันนี้พื้นที่ป่าไม้กำลังถูกคุกคามจากกิจกรรมต่างๆ ในนามการพัฒนา เช่น การขยายตัวของพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว/เกษตรอุตสาหกรรมรุกเข้าไปในพื้นที่ป่า การสัมปทานเหมืองแร่ทั้งบนดินและใต้ดินในเขตป่า การสร้างรีสอร์ทท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบถึงชุมชนที่อยู่กับป่าด้วย สถานการณ์เหล่านี้ เป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับประเด็นโลกร้อนโดยตรง เนื่องจากทำให้วิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่นที่เอื้ออิงกับทรัพยากรธรรมชาติและ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ยั่งยืนน้อยลง และทำให้ชุมชนมีความสามารถในการตั้งรับปรับตัวกับผลกระทบที่จะเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยลง

ภาคป่าไม้กับความไม่เป็นธรรมในการแก้ปัญาหาโลกร้อน

เมื่อแนวคิดการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขยายไปสู่ภาค ป่าไม้ผ่านกลไกที่เรียกว่า "เรดด์" (REDD: Reducing Emission from Deforestation and Forest Degradation in Developing Countries) หรือ "การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าใน ประเทศกำลังพัฒนา" กล่าวคือ ให้ประเทศกำลังพัฒนารักษาป่าไว้เพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน ทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมการปลูกป่าหรือฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม แล้วคำนวนปริมาณคาร์บอนนั้นออกมาเป็นคาร์บอนเครดิต เพื่อขายให้กับผู้มีเงินซื้อตามกลไกตลาด หรือมอบให้กับผู้ที่มีเงินให้การสนับสนุนโครงการนั้นๆตามกลไกกองทุน (ซึ่งปัจจุบันนี้ยังตกลงกันไม่ได้ว่าจะใช้กลไกตลาดหรือกองทุนอย่างใดอย่าง หนึ่งหรือทั้งสองอย่าง) 
เมื่อมีการเริ่มทำโครงการทดลองภายใต้กลไกเรดด์นี้ จึงเกิดปัญหามากมายตามมาในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะปัญหา การช่วงชิงกรรมสิทธิที่ดินของผืนป่าดั้งเดิม หรือป่าเสื่อมโทรมเพื่อทำโครงการปลูกป่า เกิดการรอนสิทธิชุมชนดั้งเดิมที่อยู่ในป่าและดูแลรักษาป่าอยู่แล้วและผลัก ดันให้ชุมชนเหล่านั้นย้ายออกไปเพื่อให้รัฐหรือบริษัทจะได้เข้าไปทำโครงการฯ ในหลายกรณีพบว่ามีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่และอาวุธกับชุมชน ซ้ำยังพบว่ามีการตัดไม้ในเขตป่าดั้งเดิมเพื่อให้กลายเป็นป่าเสื่อมโทรมเพื่อ ที่จะสร้างโครงการปลูกป่าในพื้นที่นั้นอีกทีหนึ่ง ซึ่งปัญหาเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศทั้งในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชีย 
สำหรับประเทศไทยเอง รัฐใช้เครื่องมือทางกฎหมายฟ้องคดีอาญาและแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายกับชาวบ้าน ที่มีที่ทำกินและอยู่อาศัยทับซ้อนกับเขตป่า ด้วยการกล่าวหาว่าทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (จากการทำไร่ทำสวน) จนเป็นที่รู้จักกันในนาม "คดีโลกร้อน"  ทั้งนี้ ไทยไม่ได้เป็นประเทศแรกที่เอาผิดทางอาญากับเกษตรกรรายย่อยจำนวนมากที่อาศัย อยู่ในป่า ในประเทศอินโดนีเซียและส่วนอื่น ๆ ของโลกก็มีการตั้งข้อหา “บุกรุกพื้นที่อนุรักษ์” เช่นเดียวกัน แต่อย่างน้อยไทยก็น่าจะเป็นประเทศเดียวที่เจาะจงกล่าวหาว่าเกษตรกรที่มีราย ได้น้อยและตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม เป็นอาชญากรโลกร้อน ในขณะที่ นักค้าไม้รายใหญ่ เจ้าของสวนป่าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ หรือบรรดาโรงงานอุตสาหกรรม อาคารขนาดใหญ่ หรือหน่วยงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มข้นอื่น ๆ กลับไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีให้ต้องรับผิดชอบต่อการปล่อยคาร์บอนหรือการ ทำลายสิ่งแวดล้อม 
ปัญหาจากการดำเนินการเตรียมขายคาร์บอนเครดิตจากป่าเหล่า นี้ สะท้อนความไม่เป็นธรรมที่เกิดจากกลไกและนโยบายที่อ้างว่าสร้างขึ้นมาแก้ ปัญหาโลกร้อน แต่ในทางปฏิบัติกลับริดรอนสิทธิชุมชนท้องถิ่นซึ่งมีกำลังทรัพย์และต้นทุนทาง สังคมไม่เพียงพอที่จะต่อกรกับอำนาจรัฐและเงินของบรรษัท 

ชุมชนรักษาป่า... เพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม

เครือข่ายประชาชนและคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรมได้มีข้อ เสนอเพื่อเร่งแก้ปัญหาโลกร้อนระดับนโยบายในภาคป่าไม้ บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่นในการเป็นเจ้าของและจัดการทรัพยากร ธรรมชาติทั้งหลายรวมทั้งป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยเห็นว่าควรมีการปฏิรูปกฏหมายด้านทรัพยากรเพื่อคุ้มครองสิทธิชุมชนและชน เผ่าพื้นเมือง และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเรื่องที่ดินระหว่างภาครัฐกับชุมชนอันเนื่องมา จากการประกาศเขตป่าทับซ้อนป่าชุมชน, พื้นที่ทำกิน, และที่อยู่อาศัยของชุมชน ด้วยการจำแนกเขตเหล่านี้ออกจากเขตป่าอนุรักษ์ให้ชัดเจนอย่างเร่งด่วนนี่สุด ในขณะเดียวกันรัฐต้องยุติการไล่รื้อ ฟันทำลายพืชผล จับกุมดำเนินคดีกับเกษตรกรและชุมชนที่อยู่ในป่าอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ ด้วยความกังวลว่ากลไกเรดด์อาจถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลใช้กีดกัน ชุมชนออกจากป่า จึงเสนอให้ไม่นำกลไกดังกล่าวมาใช้กับพื้นที่ที่ยังมีปัญหาข้อพิพาทเรื่อง สิทธิที่ดินระหว่างภาครัฐกับชุมชน
การแก้ปัญหาโลกร้อนจะต้องยึดหลักลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกที่แหล่งกำเนิด จึงไม่ควรนำภาคป่าไม้เข้าไปอยู่ในกลไกตลาดเสมือนหนึ่งจะให้ป่ามาลดการปล่อย ก๊าซฯ แทนอุตสาหกรรม โดยเฉพาะป่าไม้ที่มีชุมชนดูแลอยู่ก่อนแล้ว ก็ควรเคารพสิทธิของชุมชนและส่งเสริมสนับสนุนการรักษาป่าอย่างยั่งยืนตามวิถี ชีวิตของเขาเหล่านั้น ทั้งนี้ เพื่อรักษาผืนป่าที่มีอยู่ในปัจจุบันให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน จึงถึงเวลาต้องยกเลิกการสร้างโครงการที่นำไปสู่การทำลายป่าไม้ เช่น การให้สัมปทานเมืองแร่และโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและป่าสงวน การให้สิทธิเช่าที่ดินป่าสงวนกับภาคเอกชนเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่ ป่าพรุ เป็นต้น

ที่มา http://www.thaiclimatejustice.org/topics/forestry

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น