วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความเป็นธรรมเรื่องโลกร้อน

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความเป็นธรรมเรื่องโลกร้อน

เวลาเหลือน้อย - อย่าฝากความหวังกับนักการเมืองและนายทุน

เป็นเวลากว่า 20 ปีที่โลกตระหนักว่าวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกที่ ต้องร่วมมือกันแก้ไขและมีการก่อตั้ง "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" (UNFCCC: United Nations Framework Convention on Climate Change) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 เพื่อเป็นเวทีเจรจาของรัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกในการหาทางออกร่วมกัน  อย่างไรก็ตาม แม้การประชุมภาคีอนุสัญญา (COP: Conference of the Parties) จะผ่านมา 18 ครั้งแล้ว แต่ดูเหมือนการเจรจาระหว่างประเทศ ยังคงไม่ออกดอกออกผลเป็นรูปธรรมพอที่จะแน่ใจได้ว่ามนุษย์จะหยุดวิกฤตดัง กล่าวได้ ทั้งที่เรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นผลต่อเนื่องจากภาวะโลกร้อนซึ่งเลว ร้ายขึ้นทุกปี  
ประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีความรับผิดชอบในการเร่งลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก กลับไม่ดำเนินการอย่างจริงจังในการลดการปล่อยก๊าซฯ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ครั้งเริ่มต้นเจรจาอนุสัญญาฯ ซ้ำร้ายกลับมีความพยายามจากประเทศเหล่านั้นและอุตสาหกรรมสกปรกในการทำให้ เป้าหมายหยุดโลกร้อนร่วมกันของโลกอ่อนแอลง ด้วยการไม่ยอมผูกพันตัวเองทางกฎหมายด้วยเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซฯ ซึ่งเป็นกรอบที่ตั้งขึ้นร่วมกันภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นอนุสัญญาฯ แต่อ้างว่าจะดำเนินการเองโดยสมัครใจ และชักชวนประเทศอื่นๆ ให้เห็นด้วยกับแนวคิด "ไม่ต้องบังคับ-จะทำเองโดยสมัครใจ" นี้ โดยอ้างว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ประเทศกำลัง พัฒนาเพื่อไว้ใช้ตั้งรับปรับตัวกับโลกร้อน แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เห็นเม็ดเงินที่ว่านี้  ยิ่งไปกว่านั้น กลไกตลาด (ซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต) เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซฯ (offset) ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ประเทศพัฒนาแล้วซึ่งต้องลดการปล่อยก๊าซ "มีความยืดหยุ่น" ในการลดมากขึ้น กลับทำให้การดำเนินมาตรการลดการปล่อยก๊าซฯ ที่ต้นตออย่างแท้จริงชะงักงัน ซื้อเวลาให้อุตสาหกรรมสกปรกปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกต่อไป ในขณะที่โครงการต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาอันเป็นผลพวงจากระบบดังกล่าวได้ก่อปัญหาต่อ ชุมชนท้องถิ่นและสภาพแวดล้อม - สวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น  ขณะเดียวกัน ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายก็พยายามยกสิทธิในการพัฒนาให้เท่าเทียมมาเป็นข้อ อ้างในการเดินหน้าใช้ทรัพยาการและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปอย่างไม่ลืมหูลืม ตาเพื่อก้าวตามวิถีการผลิตและการบริโภคที่เห็นแล้วว่าทำให้โลกขาดสมดุลย์ ซ้ำยังกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนจำนวนมาก 
คงไม่มีใครปฏิเสธอีกต่อไปว่าโลกกำลังร้อนขึ้นจนอาจถึง หายนะและการหยุดวิกฤตนี้เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของมวลมนุษยชาติ แต่ประสบการณ์กว่าสองทศวรรตสอนว่าหากเราไม่อยากเห็นหายนะ เราไม่ควรฝากความหวังไว้ที่การเจรจาระดับโลกที่ขับเคลื่อนโดยรัฐบาลและ นักการเมืองซึ่งได้รับการสนับสนุนหรือแม้กระทั่งครอบงำโดยอุตสาหกรรมสกปรก และบรรษัทที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจมหาศาล 

ผลักดันโลกเย็นที่เป็นธรรมด้วยนโยบายระดับชาติ

ถึงเวลาที่เราต้องลุกขึ้นมาผลักดันการ เปลี่ยนแปลง และแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับปัจเจคบุคคลจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่ทางออกของวิกฤตโลกร้อนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นต้องการการ เปลี่ยนแปลงทางนโยบายซึ่งเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาต่างๆ เข้ากับมิติการพัฒนารูปแบบใหม่ที่จะนำพาไปสู่สังคมที่ดีและเป็นธรรม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศ เพื่อที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระดับโลกต่อไป
ประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตได้เป็นจำนวน มากควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชนได้ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยการสร้างนโยบายเพื่อรับมือกับวิกฤตโลกร้อนที่ให้ความสำคัญกับการลดโลก ร้อนที่ต้นตอของปัญหาแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมและสนับสนุนการตั้งรับและปรับตัวต่อวิกฤตโลกร้อนของกลุ่มคนในสังคม ที่มีความเสี่ยงและความอ่อนไหวต่อผลกระทบจากโลกร้อนสูง สะท้อนความเป็นธรรม มีความเชื่อมโยงกับนโยบายอื่นๆ และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมและสิทธิของชุมชนในการเป็นเจ้าของและจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 

ประเด็นสำคัญ

ประเด็นดังต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญในการรับมือกับวิกฤตโลก ร้อนในแง่มุมต่างๆ ทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ซึ่งในการกำหนดนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นธรรมจำเป็นจะ ต้องสร้างความเชื่อมโยงสอดคล้องระหว่างประเด็นและนโยบายรายประเด็นเหล่านี้ เพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล
"การซื้อ-ขายคาร์บอนและแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต" - ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาโลกร้อน แต่เป็นการประวิงเวลาและทำให้ปัญหาบานปลาย จึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการลดโลกร้อนที่ต้นตอของปัญหา
"พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลและอุตสาหกรรม" - เป็นตัวการสำคัญของภาวะโลกร้อน จึงถึงเวลาต้องเปลี่ยนผ่านจากสังคมที่พึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่ สังคมที่ใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืนซึ่งคำนึงถึงต้นทุนที่แท้จริงทาง ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างรอบด้าน โดยไม่อ้าง "คาร์บอนต่ำ" มาใช้เลือกพลังงานที่ไม่ยั่งยืนและอันตราย เช่น พลังงานนิวเคลียร์ เขื่อนขนาดใหญ่ พลังงานจากขยะ และถ่านหิน พร้อมทั้งหยุดขยายอุตสาหกรรมและโครงการขนาดใหญ่ซึ่งก่อมลพิษ ก๊าซเรือนกระจก และทำลายป่าไม้และฐานทรัพยากร
"ป่าไม้" - ถูกมองว่าเป็นแหล่งดูดซับและเก็บกักคาร์บอนซึ่งจะช่วยลดการสะสมของก๊าซ เรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ จึงมีความพยายามนำป่าไม้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการชดเชยการปล่อยกคาร์บอน แต่ป่าไม้มีความสำคัญมากกว่านั้นด้วยเป็นทั้งแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพและ กำหนดระบบนิเวศน์ ทั้งยังเป็นที่อยู่ของประชากรโลกอีกจำนวนมากซึ่งมักไม่ค่อยมีพื้นที่ในสังคม การรักษาป่าธรรมชาติอย่างเป็นธรรมจึงต้องเคารพและส่งเสริมสิทธิชุมชนท้อง ถิ่นในการเป็นเจ้าของและจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
"เกษตรกรรม" - เป็นภาคที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจนใน ภาคเกษตร เกษตรกรรมคือความมั่นคงทางอาหารของประชากรโลก ในขณะเดียวกันระบบเกษตรอุตสาหกรรมเคมีเข้มข้นปัจจุบันก็เป็นตัวการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกและก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การเปลี่ยนผ่านสู่เกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์ที่คำนึงถึงวิถีชีวิตและวัฒ ณธรรมของชุมชนบนพื้นฐานทรัพยากรและสภาพที่เหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น เพื่อการผลิตอาหารที่ดี ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรสามารถตั้งรับและปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด ขึ้นได้อย่างยั่งยืน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น