วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

สุดยอดนักเศรษฐศาสตร์เลือดใหม่ของเมืองไทย



ดร. กานดา นากน้อย

      ดร. กานดา จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จาก Stanford ด้วยทุนของ IMF จบตรีเศรษฐศาสตร์จาก Hitotsubashi ในญี่ปุ่น โทเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเีกียวโดยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น

      ดร. กานดาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาช่วงสั้นๆให้กับธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ (IMF) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาิทยาลัย Purdue

ดร. สุรัช แทนบุญ

       ดร. สุรัชเป็นนักเรียนทุนลูกหม้อแบงค์ชาติ (สายตรงผู้ว่า) จบตรีเศรษฐศาสตร์ควบคณิตเศรษฐศาสตร์จาก Williams College ก่อนมาทำเอกที่ Stanford ระหว่างเรียนเขียนวิทยานิพธ์เกี่ยวกับการใช้ปริมา๊๊๊ณน้ำฝนเป็น Instrument variable มีสไตล์คล้าย ดร. โกร่ง คือเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์มิติ (Econometrics) เป็นพิเศษ

ดร. พันวดี กันณนุทรัพย์ุกุล

        ดร. พันวดี เป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง หลังจากจบที่ตรีที่ Harvard เข้าทำงานที่ Bain Consulting บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก ก่อนกลับมาทำเอกเศรษฐศาสตร์ที่ Harvard เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์แรงงาน (Three Essays in Labor Economics) กับ Lawrence Katz สุดยอดนักเศรษฐศาสตร์แรงงานที่ชาวเศรษฐศาสตร์แรงงานรู้จักกันอย่างดี
       หลังจบการศึกษา ดร. พันวดี เข้าร่วมงานกับ Lehman Brothers วา๊ณิชธนกิจขนาดยักษ์ที่กรุงนิวยอร์ก

ดร. ดอน นาครทรรพ

       ปริญญา ตรีทางเศรษฐศาสตร์ควบชีววิทยาด้วยทุนเล่าเรียนหลวง จาก Yale University กลับมาทำงานที่บริษัทหลักทรัพย์ภัทรได้พักหนึ่งก็บินกลับไปต่อปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์ ที่ Harvard เขียนวิทยานิพนธ์ในหัวข้อเกี่ยวกับการกำกับเป้าหมายทางเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) กับ Ben Friedman ตัวจริงเสียงจริงในวงการเศรษฐศาสตร์นโยบายการเงิน
       ดร. ดอนปัจจุบันเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย

ดร. วิรไท สันติประภพ

       บุตร ชายของ พล ต.อ. ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจและ สวคนดัง ดร วิรไท เป็นนักเรียนไทยไม่กี่คนในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่สามารถหักด่านอรหันต์ ็็โดยการจบตรีจากเมืองไทยแล้วสามารถเข้าเรียนปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ใน มหาวิทยาลัยระดับ Top 5 ของโลก (ไม่รวม Chicago) เขียนวิทยานิพนธ์เรื่องการเปิดเสรีทางการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Financial Liberization in Southeast Asia) กับ Dwight Perkins นักเศรษฐศาสตร์ระดับ "ตำนาน" อีกคนของ Harvard

       หลังคว้าปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Harvard ดร วิรไท เข้าทำงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อคุณธารินทร์ผงาดขึ้นเป็นซาร์เศรษฐศาสตร์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ดึงตัวดร วิรไทกลับมาช่วยงานเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายการคลัง think tank ด้านนโยบายของกระทรวงการคลังที่ตั้งขึ้นใหม่ ภายหลังเมื่อศูนย์อำนาจทางการเมืองเปลี่ยน โครงข่ายของ "มิสเตอร์ที" ถึงการล่มสลาย ดร วิรไทได้ออกมาร่วมงานกับธนาคารไทยพา๊ณิชย์ ปัจจุบันดร วิรไท เป็น Fund Manager ด้านตราสารสารหนี้ให้กับธนาคารไทยพา๊ณิชย์

ดร. ปิติ ดิษยทัต

       ความ พิเศษของ ดร. ปิติคือการที่เป็นคนไทยคนเดียวในรอบ 20 ปีที่มีผลงานตีพิมพ์ใน Journal ระดับมาตราฐานโลก โดย ผลงานของ ดร ปิติ ในเรื่องบทบาทของธนาคารพา๊ณิชย์เมื่อค่าเงินถูกโจมตีได้ถูกตีพิมพ์ใน European Economic Review (นับเฉพาะใน fields of Macroeconomics and International Finance, European Economic Review ถูกจัดเป็น journal ระดับ Top 5)
       ดร. ปิติ จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จาก Princeton University เขียนวิทยานิพนธ์ภายใต้การกำกับดูแลของ Ben Benanke นักเศรษฐศาสตร์ จาก Princeton ผู้ก้าวมาเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางของสหรัฐ "บุคคลผู้ทรงอิทธิพลเป็นอันดับสองของสหรัฐ" รองจากประธานาธิปดี นอกจากนี้ Kenneth Rogoff อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF ก็เป็นส่วนหนึ่งใน Thesis Committee ของดร ปิติ
      หลังจบการศึกษา ดร. ปิติ ได้เข้าทำงานที่ IMF ปัจจุบันกลับมาเป็นกำลังสำคัญของทีมกลยุทธ์นโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
      ดร. ปิติจบตรีเศรษฐศาสตร์จาก Swarthmore College

ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ

     ใน ความคิดเห็นส่วนตัว Economic Hitman คิดว่า "ดร นก" เป็นนักเศรษฐศาสตร์อันดับหนึ่ง ถ้านับเฉพาะนักเศรษฐศาสตร์เลือดใหม่ (40 years old or below)

      อดีต "หนุ่มโสดแห่ปี" วารสาร Cleo, ดร. เศรษฐพุฒิจบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ Yale University เคยทำงานที่ Mckinsey ที่ปรึกษาธุรกิจเชิงกุลยุทธ์อันดับหนึ่งของโลก หลังจากจบปริญญาเอกเข้าทำงานกับธนาคารโลก (World Bank) ก่อนที่ธารินทร์ นิมมานเหมินท์จะดึงตัวมาเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายการคลังคู่กับ ดร วีรไท ภายหลังดร เศรษฐพุฒิกลับไปที่ธนาคารโลกรวมแล้วเป็นนักเศรษฐศาสตร์ให้กับธนาคารโลกเป็น เวลา 10 ปี
      ปัจจุบัน ดร. เศรษฐพุฒิก้าวมากินตำแหน่งใหญ่เป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยการทาบทามของ กิตติรัตน์ ณ ระนอง

ดร กอบศักดิ์ ภูตระกูล

      ดร กอบศักดิ์ ภูตระกูลผู้บริหารทีมนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ทีมที่ต้องถือว่าเป็นหัวใจหลักในการดำเนินนโยบายการเงินของแบงค์ชาติ ดร กอบศักดิ์เขียนวิทยานิพนธ์ กับ Robert Solow นักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล (yes, the same Solow Model)ในหัวข้อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Three Essays on Ecoomic Growth)
      ดร กอบศักดิ์จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จาก MIT, จบตรีเศรษฐศาสตร์ควบคณิตเศรษฐศาสตร์จาก Williams College

ดร รุ่ง มัลลิกะมาส

     ลูก สาว ดร โกวิทย์ โปษยานนท์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (PhD Economics also; from Cornell) ดร รุ่งเป็นผู้บริหารทีมกลยุทธ์นโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เขียน วิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลของ Olivier Blanchard สุดยอดปรมจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคในข้อหัว ตลาดแรงงานและเศรษฐศาสตร์มหภาค (Essays in macro-labor economics)
     ดร รุ่งจบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จาก MIT, จบตรีจาก Harvard

ดร. ยรรยง ไทยเจริญ

     นัก เศรษฐศาสตร์เลือดใหม่ของแบงค์ชาติ นักเรียนทุนลูกหม้อของแบงค์ จบตรีเศรษฐศาสตร์ควบบริหารจาก MIT โทบริหารจาก Stanford ก่อนกลับต่อเอก ที่ MIT
     ดร. ยรรยง เป็นลูกศิษย์ก้นกุฎิของ Daron Acemoglu นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลกที่พึ่งได้รับรางวัล John Bates Clark Award ที่มอบให้ักับสุดยอดเศรษฐศาสตร์อายุตำ่กว่า 40 ของโลก ปัจจุบัน ดร. ยรรยง ยังถือว่าเป็น "คนไทยคนสุดท้าย" ที่ได้ปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จากคณะเศรษฐศาสตร์ของ MIT "the BEST economics program in the universe"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น