วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มูลค่าโดยรวมทางเศรษฐศาสตร์ (Total Economic Value)


มูลค่าโดยรวมทางเศรษฐศาสตร์ (Total Economic Value) 
ของทรัพยากรหรือมูลค่าทางสิ่งแวดล้อม(Dominika Dziegielewska. 2007. Environmental economics” The Encyclopedia of Earth. Encyclopedia of Earth. Available Source:  http://www.eoearth.org/article/Total_economic_value
September 10, 2007.)  ประกอบด้วย

รูปมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์โดยรวม
  • มูลค่าการใช้ประโยชน์ (Use Value) ได้แก่
    1. มูลค่าการใช้โดยตรง (Direct Use Value) หมายถึง มูลค่าที่คิดจากรายได้การใช้ทรัพยากรโดยตรง เช่น รายได้จากการจับสัตว์น้ำ รายได้จากการท่องเที่ยวในแหล่งปะการังรวมถึงค่าเดินทาง ค่าที่พักนักท่องเที่ยว รวมทั้งการลงทุนในการบูรณะทรัพยากร
    2. มูลค่าการใช้ทางอ้อม (Indirect Use Value) หมาย ถึง มูลค่าการใช้ทรัพยากรที่ไม่สามารถนำมาขายได้โดยตรง คือไม่มีราคาผ่านตลาด แต่มีคุณค่ามหาศาลและยากต่อการประเมิน เช่น การรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศให้มีความอุดมสมบูรณ์ในทะเล เป็นที่เลี้ยงตัว วางไข่ อนุบาล เป็นที่อยู่อาศัยและเจริญเติบโตของทรัพยากรสัตว์และพืชในห่วงโซ่อาหาร และจากการศึกษาในงานวิจัยหลายเรื่องพบว่า การใช้ทรัพยากรทางอ้อมนี้มีมูลค่ามากกว่ารายได้จากการใช้ประโยชน์โดยตรง อย่างมาก
  • มูลค่าที่เกิดจากการเลือกที่จะสงวนไว้ใช้ในอนาคต (Option Value) หมายถึง มูลค่าที่สังคมให้แก่ทรัพยากรเพื่อเก็บไว้ใช้ในอนาคตหากต้องการใช้
  • มูลค่าไม่ใช้ประโยชน์ (Non-Use Value)หมาย ถึงคุณค่าของทรัพยากรจากการไม่ได้ใช้ทรัพยากรโดยตรงแต่บุคคลหรือสังคมมีความ ต้องการให้ทรัพยากรนี้ดำรงอยู่เพื่อตนเองและบุคคลอื่นในอนาคตโดยที่ประชาชน ไม่ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรนั้นเลยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมมูลค่าไม่ใช้ ประโยชน์ได้แก่
    1. มูลค่าการคงอยู่ (Existence Value) หมายถึง มูลค่าที่สะท้อนความต้องการของบุคคล ที่ปรารถนาให้ทรัพยากรดำรงคงอยู่ต่อไปในอนาคต แม้ว่าผู้บริโภคนั้นจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ หรือไม่มีโอกาสได้ใช้ทรัพยากรนั้นเลยก็ตาม แต่ผู้บริโภครู้สึกพอใจที่จะให้ทรัพยากรนั้นคงอยู่ต่อไป
    2. มูลค่าเพื่อลูกหลาน (Bequest Value) หมายถึง มูลค่าของสิ่งแวดล้อมที่บุคคลรุ่นปัจจุบันต้องอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้เห็นหรือได้ใช้ประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น