วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

อุปสงค์ VS อุปทาน

อุปสงค์ หมายถึงความต้องการสินค้าและบริการจำนวนหนึ่งที่ผู้บริโภคประสงค์จะซื้อและมีความสามารถจะซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งความต้องการดังกล่าวจะแปรผกผันกับราคาสินค้านั้น อุปสงค์มีทั้งอุปสงค์ส่วนบุคคลและอุปสงค์ตลาดที่ได้จากการรวมอุปสงค์ตลาดที่ได้จาการรวมอุปสงค์ส่วนบุคคลของทุกๆ คน ณ ระดับราคาเดียวกัน
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ เป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงในปริมาณอุปสงค์ต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ แบ่งออกเป็นความยืดหยุ่นต่อราคา ความยืดหยุ่นต่อรายได้ และความยืดหยุ่นไขว้
อุปทาน หมายถึงปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ขายยินดีขาย ณ ระดับราคาต่างๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งปริมาณที่เสนอขายจะแปรผันโดยตรงกับราคาสินค้านั้นๆ อุปทานมีทั้งอุปทานของหน่วยธุรกิจและอุปทานของอุตสาหกรรมที่ได้จากการรวมอุปทานของหน่วยธุรกิจของทุกๆหน่วยธุรกิจ ณ ระดับราคาเดียวกัน
ความยืดหยุ่นของอุปทานเป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงในปริมาณอุปทานต่อ การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่กำหนดอุปทาน แบ่งออกเป็นความยืดหยุ่นของอุปทานในระยะสั้นและระยะยาว
ดุลยภาพของตลาด เกิดขึ้นเมื่ออุปสงค์เท่ากับอุปทาน ทำให้เกิดราคาและปริมาณดุลยภาพ การบิดเบือนกลไกราคาด้วยการเก็บภาษีและการให้เงินช่วยเหลือ การกำหนดราคาขั้นต่ำขั้นสูง การจำกัดปริมาณการผลิต และการกำหนดปริมาณการนำเข้าและการเก็บภาษีสินค้านำเข้า ทำให้ราคาและปริมาณดุลยภาพเปลี่ยนแปลงไป
    อุปสงค์
1.      อุปสงค์ หมายถึงปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคยินดีที่จะซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคไม่เปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปปริมาณซื้อจะแปรผกผันกับราคา
2.      อุปสงค์ส่วนบุคคลเป็นความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภครายใดรายหนึ่ง เมื่อรวมอุปสงค์ของผู้บริโภคทุกรายที่มีอยู่ในตลาดเข้าด้วยกันก็จะได้อุปสงค์ตลาด
3.      ความยืดหยุ่นของอุปสงค์เป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงในปริมาณอุปสงค์ต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ ซึ่งได้แก่ราคาของสินค้าที่กำลังพิจารณา รายได้ของผู้บริโภคและราคาของสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของอุปสงค์
อุปสงค์หมายถึง ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคยินดีซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ ในขณะที่ปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคไม่เปลี่ยนแปลง
                อุปสงค์ส่วนบุคคลและอุปสงค์ตลาด
เส้นอุปสงค์ส่วนบุคคลมีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวา เส้นอุปสงค์ส่วนบุคคลหลายเส้น เมื่อรวมอุปสงค์แต่ละรายที่ระดับราคาต่างๆกัน เข้าด้วยกัน จะได้อุปสงค์รวมทั้งหมดซึ่งเรียกว่า อุปสงค์ตลาด เส้นอุปสงค์อาจไม่เป็นเส้นตรงก็ได้ แต่จะต้องเป็นเส้นที่ลาดลงจากซ้ายไปขวา เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นเมื่อสินค้ามีราคาลดลง
 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา ต่อรายได้ และความยืดหยุ่นไขว้
1.      ในกรณีที่ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาน้อยกว่า 1 ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณการซื้อของผู้บริโภคจะลดลงน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ทำให้รายจ่ายของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น
2.      ถ้าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาเท่ากับ –0.5 การขึ้นราคาสินค้าร้อยละ 10 จะทำให้รายจ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ
จาก TR = PQ โดยที่ TR= รายจ่ายของผู้บริโภค P= ราคาสินค้า  Q = ปริมาณการซื้อสินค้า เมื่อราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเท่ากับ
(1.1P)(0.95Q)  = 1.045PQ
แสดงว่ารายจ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 4.5 เปอร์เซ็นต์
3.      ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาไขว้จะมีเครื่องหมาย ดังต่อไปนี้
(ก)   ขาและกาแฟเป็นสินค้าทดแทนกัน เครื่องหมายของอุปสงค์ต่อราคาไขว้ มีเครื่องหมายเป็น บวก
(ข)   เหล้าและโซดาเป็นสินค้าที่ใช้ร่วมกันเครื่องหมายของอุปสงค์ต่อราคาไขว้ มีเครื่องหมายเป็น ลบ
(ค)   ไม้จิ้มฟันและเรือรบ เป็นสินค้าที่เป็นอิสระต่อกัน เครื่องหมายของอุปสงค์ต่อราคาไขว้มีค่าเป็น ศูนย์
   อุปทาน
อุปทานของสินค้า หมายถึงปริมาณสินค้าที่ผู้ขายยินดีที่จะเสนอขาย ณ ระดับราคาต่างๆ กัน ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณขายจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
อุปทานของหน่วยธุรกิจ เป็นความต้องการเสนอขายสินค้าของผู้ขายรายใดรายหนึ่ง เมื่อรวมอุปทานของผู้ขายทุกรายที่มีอยู่ในท้องตลาดเข้าด้วยกันก็จะได้อุปทานของอุตสาหกรรม
ความยืดหยุ่นของอุปทาน เป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงในปริมาณอุปทานต่อการเปลี่ยน แปลงของราคาสินค้าซึ่งแบ่งออกเป็นความยืดหยุ่นของอุปทานในระยะสั้นและระยะ ยาว
 ความหมายของอุปทาน
          ผู้ขายจะเสนอขายสินค้าในปริมาณเท่าเดิม เมื่อสินค้ามีราคาสูงขึ้น จะมีความเป็นไปได้ที่ผู้ขายไม่มีเวลากรณีที่ผู้ขายไม่มีเวลาพอที่จะไปหาสินค้ามาเสนอขายเพิ่มขึ้น เช่น ถ้าเขามีส้มอยู่ในร้านจำนวน 20 กก. ถ้าราคาส้มเพิ่มขึ้น เขาไม่สามารถหาส้มมาเสนอขายในปริมาณที่เพิ่มขึ้นในอีก 1 นาทีข้างหน้า ทำให้เส้นอุปทานเป็นเส้นตั้งฉากกับแกนนอนดังเส้น S ในรูปข้างล่างถึงแม้อุปสงค์จะเพิ่มขึ้นจาก D1 เป็น D2 ผู้ขายยังเสนอขายได้เพียง 20 กก. แต่สามารถขายได้ในราคาสูงขึ้น ถ้าผู้ผลิตเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ซึ่งมีเส้นอุปทานเหมือนกัน คือ S3 และ St เส้นอุปทานของอุตาสหกรรมจะต้องนำเส้นอุปทานของผู้ผลิตที่มีเส้นอุปทานเหมือนกัน S3 และ St เดิมตามแนวนอน ซึ่งจะได้เส้นอุปทานรวมใหม่เป็น S*t ตามรูป
 ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคาในระยะสั้นและระยะยาว
1.      ความยืดหยุ่นของเส้นอุปทานจะเท่ากับ อสงไขย (Infinity) มีความเป็นไปได้ ซึ่งเป็นกรณีที่เส้นอุปทานเป็นเส้นขนานกับแกนนอน ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยต้องสั่งน้ำมันเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งปริมาณซื้อของประเทศไทยปริมาณน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำมันในตลาดโลก ดังนั้นผู้ขายน้ำมันในตลาดโลกสามารถขายน้ำมันในปริมาณที่ประเทศไทยต้องการในราคาที่คงที่ ทำให้ประเทศไทยเห็นเส้นอุปทานของน้ำมันเป็นเส้น S ที่ขนานกับแกนนอน
 2.      ผู้ผลิตรายหนึ่งเสนอขายสินค้า 10 หน่วย เมื่อราคาสินค้าเท่ากับหน่วยละ 5 บาท และเสนอขายสินค้า 20 หน่วย เมื่อราคาเท่ากับ 7 บาท  หาความยืดหยุ่นต่อราคาอุปทาน และดูว่าเป็นอุปทานระยะฉับพลันหรือไม่
Ep  =  dQ/dP(P/Q)
          Ei   =  (Q2-Q1)/(Q2+Q1)/2      = (20-10)/(20+10)/2   =  10/15   = 2
                      (P2-P1)/(P2+P1)/2           (7-5)  / (7+5)/2          2/6
          Ep  =   2 (5/10)                             =  1
          ความยืดหยุ่นต่อราคาอุปทาน เท่ากับ 1 แสดงว่าไม่ใช่อุปทานระยะฉับพลับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น