รัฐบาลใหม่เสนอนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลายประการ ความน่าพอใจของนโยบาย
เหล่านั้นคงไม่ได้ตรงไปตรงมาแค่การบวกตัวเลขงบประมาณที่รัฐประกาศว่าจะใช้จ่ายเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจเท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่อยากให้รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายมองเห็น คือการดำรงอยู่ของบทบาทของ
ภาคประชาชนที่อยู่ในรูปของกลุ่ม องค์กรชุมชน และ เครือข่าย และการดำรงอยู่ของเศรษฐกิจที่
ไม่เป็นทางการ (informal sector) ขนาดใหญ่ คุณทักษิณประสบความสำเร็จไม่ใช่ด้วย
ความสามารถในการกำหนดนโยบายประชานิยมแบบลอยลงมาจากบนสู่ล่าง แต่เป็นความสามารถ
ในการมองเห็นการทำงานของเครือข่ายภาคประชาชน แล้วหยิบฉวยและดึงพลังเหล่านั้นมาช่วย
กำหนดนโยบาย
กลุ่มหรือเครือข่ายไม่เป็นทางการ 2 ประเภทที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จในแง่การรวมตัว
และมีพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมคือ กลุ่มเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน และเครือข่ายด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ทั้งสองกลุ่มมีจุดต่างกันตรงที่เครือข่ายองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน
มองว่ารัฐเป็นพันธมิตร เพราะรัฐมีทรัพยากรที่อาจเข้ามาช่วยหนุนเสริมขบวนการของตน ในขณะ
ที่เครือข่ายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอาจไม่ได้มองว่ารัฐคือพันธมิตรเพราะปัญหาการแย่งชิง
สิทธิในทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และความเชื่อว่ารัฐเป็นตัวแทนของนายทุน
ยังไม่เห็นว่านโยบายของรัฐบาลใหม่จะดึงพลังจากภาคประชาชนที่ดำรงอยู่ หรือสนับสนุน
พลังของภาคประชาชนอย่างไร พรรคประชาธิปัตย์นั้นมักเชื่อมั่นในนักวิชาการและระบบราชการ
แต่ถึงเวลาแล้วที่ต้องมองเห็นศักยภาพของภาคส่วนอื่นๆในสังคม และเข้าใจพลังของเศรษฐกิจนอก
ภาคทางการด้วย รัฐบาลสามารถใช้พลังของกลุ่มเครือข่ายในการให้ข้อคิดเห็นรวมถึงติดตามผล
การทำงานของข้าราชการได้ด้วย
ถ้าจะมีนโยบายประชานิยม ก็ต้องทำประชานิยมให้มีคุณภาพ
ความสำเร็จของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ตั้งอยู่บนฐานคิด “ถ้วนหน้า” แบบรัฐ
สวัสดิการ ทำให้ปัจจุบันนักวิชาการ เริ่มแยกแยะ “ประชานิยมที่ดี” แทนการตีขลุมว่าประชานิยม
ไม่ดีไปเสียทั้งหมด
นิยามของ “ประชานิยมที่ดี” ในความหมายของนักวิชาการบางท่านคือการไม่เลือกปฏิบัติ
และการจัดสรรให้ถ้วนหน้าแก่ประชาชนทุกคน ซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกับ “รัฐสวัสดิการ”
ความสำเร็จเบื้องหลังอีกประการของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค คือ การทำงานอย่างมีส่วนร่วม
ใกล้ชิดกันระหว่างนักวิชาการ หน่วยปฏิบัติ และผู้กำหนดนโยบาย อย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุง
แก้ไขจนระบบลงตัว
ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์นั้น รัฐสวัสดิการเข้ามาเสริมหรือทดแทนความล้มเหลว
ของระบบตลาดที่ไม่สามารถจัดบริการสวัสดิการพื้นฐานให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ส่วนหนึ่งก็
ด้วยเหตุที่เรามีคนรวยคนจน คนจนคนด้อยโอกาสที่ไม่มีอำนาจซื้อจึงขาดโอกาสที่จะเข้าถึง
สวัสดิการที่ดีภายใต้ระบบตลาด ดังนั้น สวัสดิการโดยรัฐนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาให้คนด้อย
โอกาสแล้ว การกำหนดให้เป็น “สิทธิของทุกคน” แบบรัฐสวัสดิการ จึงถือเป็นการสร้างความเท่า
เทียมกันระหว่างคนมีกับคนจนด้วย
จะมีทิศทางในการสร้างประชานิยมที่ดีหรือรัฐสวัสดิการอย่างไร อยากแนะนำให้รัฐบาล
กลับไปอ่านงานเขียนของอาจารย์ป๋ วย ตรงนั้นมีชุดของนโยบายที่ครอบคลุมพอที่จะให้ทิศทาง
เกี่ยวกับสิ่งที่รัฐควรทำ แนวทางการทำงานแบบโครงการการลงทุนทางสังคม (SIF) ในช่วงวิกฤต
เศรษฐกิจ 2540 และโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นแนวทางที่ควรได้รับความสนใจ
พรรคประชาธิปัตย์กำลังเสนอนโยบายอีก 2 ประการ คือ การศึกษาฟรี 15 ปี และเบี้ยยังชีพ
ผู้สูงอายุ มีคนบอกว่านี่เป็นประชานิยมที่เป็นแบบรัฐสวัสดิการคืออยู่บนฐานคิดถ้วนหน้า (สำหรับ
เด็กทุกคน และผู้สูงอายุทุกคน) แนวนโยบายให้การศึกษาฟรีและให้เบี้ยยังชีพไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่
ประเด็นอยู่ที่รัฐบาลคุณอภิสิทธ์ิจะดำเนินนโยบายทั้งสองให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร
การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญและเป็นการลงทุนในระยะยาว การศึกษาฟรีไม่ได้มีผลเชิง
คุณภาพในระยะยาวหากรัฐตีโจทย์ไม่แตกว่าการศึกษาแบบใดที่สังคมต้องการ โดยเฉพาะสังคมที่
หลากหลายและเหลื่อมล้ำอย่างสังคมไทย การศึกษาในระบบในสภาพปัจจุบันนอกจากจะไม่
สามารถสร้างเสริมศักยภาพการแข่งขันภายนอกได้อย่างจริงจังแล้ว ยังตอกย้ำและขยายความ
เหลื่อมล้ำ เพราะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นได้
การศึกษาฟรีจะเป็นเพียงการสนับสนุนการศึกษาในระบบ ซึ่งเราก็รู้อยู่ว่ายังไม่น่าพอใจสัก
เท่าไร การทุ่มเทให้กับการศึกษาฟรีจะมีผลลดการลงทุนของรัฐเพื่อการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยหรือไม่ อย่างไร รัฐจะสนับสนุนการศึกษานอกระบบหรือไม่อย่างไร เมื่อ
เด็กๆออกไปนอกห้องเรียนยังไม่เห็นหนังสือดีราคาย่อมเยาให้เด็กๆได้อ่านมากนัก ยังไม่เห็น
สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สื่อสาธารณะสำหรับเด็ก งบประมาณส่วนนี้ไปอยู่ที่ไหน งบกระตุ้น
เศรษฐกิจผ่านการอุดหนุนการทำหนังสือดีๆ สื่อการศึกษาดีๆ เป็นเรื่องที่รัฐน่าจะลองหยิบขึ้นมา
พิจารณา
รัฐควรสนับสนุนให้มีการศึกษาวิเคราะห์เศรษฐกิจนอกภาคทางการให้ลึกซึ้ง และรัฐต้อง
ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการมีฐานข้อมูลระดับจุลภาค
ปีที่แล้ว เมื่อเกิดวิกฤตพลังงานและอาหารแพง กระทรวงพาณิชย์วิ่งมาที่คณะ
เศรษฐศาสตร์ ปรึกษาว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าผลผลิตข้าวในประเทศในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าจะมีอยู่
จริงเท่าไร วันนั้นทั้งนักวิชาการและข้าราชการออกอาการ “บื้อ” เพราะทั้งนักวิชาการและกระทรวง
พาณิชย์ก็ไม่มีข้อมูลว่าเรามีสต็อกข้าวจริงเท่าไร กระทรวงเกษตรฯไม่มีข้อมูลว่าในเดือนหน้ามีข้าว
ที่จะเก็บเกี่ยวได้อีกเท่าไร พวกเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไรให้ทันกับการออกแบบ
มาตรการฉุกเฉิน ตัวช่วยกลับกลายเป็นภาคเอกชน ซึ่งแนะนำให้เราไปคุยกับบริษัทรับจ้างเกี่ยวข้าว
ในภาคกลาง (เพราะฤดูนั้นไม่มีข้าวในภาคอื่นๆ) ที่วิ่งตระเวนรถเกี่ยวข้าวอยู่ทั่วทุ่งท้องนาอย่าง
สม่ำเสมอ บริษัทเหล่านี้น่าจะช่วยประเมินข้อมูลได้ใกล้เคียงข้อเท็จจริงมากที่สุด
ที่ผ่านมา บริษัทซีพีลงทุนจ้างพนักงานวิ่งเก็บข้อมูลสินค้าเกษตรตามท้องทุ่ง กระทรวง
เกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) ก็ลงทุนจ้างคนไทยเก็บข้อมูลข้าวในพื้นที่ชนบท รัฐบาลไทยที่มี
เจ้าหน้าที่รัฐมากมายอยู่ในพื้นที่ได้ให้ความสำคัญกับข้อมูลเพียงใด น่ายินดีที่หนึ่งในโครงการ
กระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์คือการจ้างบัณฑิตอาสามาเก็บข้อมูลสินค้าเกษตร มี
ข้อแนะนำว่าข้อมูลที่เก็บควรเป็นข้อมูลที่กระทรวงพาณิชย์เองจะใช้ประโยชน์ได้ในการติดตาม
ประเมินผลนโยบายด้านจำนำสินค้าเกษตรที่กระทรวงฯได้ทุ่มเทงบลงไปมากมายภายใต้ข้ออ้างของ
การ “กระตุ้นเศรษฐกิจ”
สิ่งสุดท้ายที่อยากเห็น คือ รัฐรู้ว่าอะไรที่ไม่ควรทำ เพราะรัฐไทยนั้น ได้ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
มากมายจนชาวบ้านแซวว่า ไม่มีรัฐก็ดี เผื่ออะไรๆอาจจะดีขึ้น จึงได้แต่ฝากรัฐบาลใหม่ให้ช่วยคิด
อย่างจริงจังว่า อะไรที่รัฐทำอยู่แต่แท้จริงแล้วไม่ควรทำ และอะไรที่รัฐควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ
เหล่านั้นคงไม่ได้ตรงไปตรงมาแค่การบวกตัวเลขงบประมาณที่รัฐประกาศว่าจะใช้จ่ายเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจเท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่อยากให้รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายมองเห็น คือการดำรงอยู่ของบทบาทของ
ภาคประชาชนที่อยู่ในรูปของกลุ่ม องค์กรชุมชน และ เครือข่าย และการดำรงอยู่ของเศรษฐกิจที่
ไม่เป็นทางการ (informal sector) ขนาดใหญ่ คุณทักษิณประสบความสำเร็จไม่ใช่ด้วย
ความสามารถในการกำหนดนโยบายประชานิยมแบบลอยลงมาจากบนสู่ล่าง แต่เป็นความสามารถ
ในการมองเห็นการทำงานของเครือข่ายภาคประชาชน แล้วหยิบฉวยและดึงพลังเหล่านั้นมาช่วย
กำหนดนโยบาย
กลุ่มหรือเครือข่ายไม่เป็นทางการ 2 ประเภทที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จในแง่การรวมตัว
และมีพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมคือ กลุ่มเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน และเครือข่ายด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ทั้งสองกลุ่มมีจุดต่างกันตรงที่เครือข่ายองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน
มองว่ารัฐเป็นพันธมิตร เพราะรัฐมีทรัพยากรที่อาจเข้ามาช่วยหนุนเสริมขบวนการของตน ในขณะ
ที่เครือข่ายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอาจไม่ได้มองว่ารัฐคือพันธมิตรเพราะปัญหาการแย่งชิง
สิทธิในทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และความเชื่อว่ารัฐเป็นตัวแทนของนายทุน
ยังไม่เห็นว่านโยบายของรัฐบาลใหม่จะดึงพลังจากภาคประชาชนที่ดำรงอยู่ หรือสนับสนุน
พลังของภาคประชาชนอย่างไร พรรคประชาธิปัตย์นั้นมักเชื่อมั่นในนักวิชาการและระบบราชการ
แต่ถึงเวลาแล้วที่ต้องมองเห็นศักยภาพของภาคส่วนอื่นๆในสังคม และเข้าใจพลังของเศรษฐกิจนอก
ภาคทางการด้วย รัฐบาลสามารถใช้พลังของกลุ่มเครือข่ายในการให้ข้อคิดเห็นรวมถึงติดตามผล
การทำงานของข้าราชการได้ด้วย
ถ้าจะมีนโยบายประชานิยม ก็ต้องทำประชานิยมให้มีคุณภาพ
ความสำเร็จของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ตั้งอยู่บนฐานคิด “ถ้วนหน้า” แบบรัฐ
สวัสดิการ ทำให้ปัจจุบันนักวิชาการ เริ่มแยกแยะ “ประชานิยมที่ดี” แทนการตีขลุมว่าประชานิยม
ไม่ดีไปเสียทั้งหมด
นิยามของ “ประชานิยมที่ดี” ในความหมายของนักวิชาการบางท่านคือการไม่เลือกปฏิบัติ
และการจัดสรรให้ถ้วนหน้าแก่ประชาชนทุกคน ซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกับ “รัฐสวัสดิการ”
ความสำเร็จเบื้องหลังอีกประการของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค คือ การทำงานอย่างมีส่วนร่วม
ใกล้ชิดกันระหว่างนักวิชาการ หน่วยปฏิบัติ และผู้กำหนดนโยบาย อย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุง
แก้ไขจนระบบลงตัว
ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์นั้น รัฐสวัสดิการเข้ามาเสริมหรือทดแทนความล้มเหลว
ของระบบตลาดที่ไม่สามารถจัดบริการสวัสดิการพื้นฐานให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ส่วนหนึ่งก็
ด้วยเหตุที่เรามีคนรวยคนจน คนจนคนด้อยโอกาสที่ไม่มีอำนาจซื้อจึงขาดโอกาสที่จะเข้าถึง
สวัสดิการที่ดีภายใต้ระบบตลาด ดังนั้น สวัสดิการโดยรัฐนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาให้คนด้อย
โอกาสแล้ว การกำหนดให้เป็น “สิทธิของทุกคน” แบบรัฐสวัสดิการ จึงถือเป็นการสร้างความเท่า
เทียมกันระหว่างคนมีกับคนจนด้วย
จะมีทิศทางในการสร้างประชานิยมที่ดีหรือรัฐสวัสดิการอย่างไร อยากแนะนำให้รัฐบาล
กลับไปอ่านงานเขียนของอาจารย์ป๋ วย ตรงนั้นมีชุดของนโยบายที่ครอบคลุมพอที่จะให้ทิศทาง
เกี่ยวกับสิ่งที่รัฐควรทำ แนวทางการทำงานแบบโครงการการลงทุนทางสังคม (SIF) ในช่วงวิกฤต
เศรษฐกิจ 2540 และโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นแนวทางที่ควรได้รับความสนใจ
พรรคประชาธิปัตย์กำลังเสนอนโยบายอีก 2 ประการ คือ การศึกษาฟรี 15 ปี และเบี้ยยังชีพ
ผู้สูงอายุ มีคนบอกว่านี่เป็นประชานิยมที่เป็นแบบรัฐสวัสดิการคืออยู่บนฐานคิดถ้วนหน้า (สำหรับ
เด็กทุกคน และผู้สูงอายุทุกคน) แนวนโยบายให้การศึกษาฟรีและให้เบี้ยยังชีพไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่
ประเด็นอยู่ที่รัฐบาลคุณอภิสิทธ์ิจะดำเนินนโยบายทั้งสองให้ดีกว่าเดิมได้อย่างไร
การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญและเป็นการลงทุนในระยะยาว การศึกษาฟรีไม่ได้มีผลเชิง
คุณภาพในระยะยาวหากรัฐตีโจทย์ไม่แตกว่าการศึกษาแบบใดที่สังคมต้องการ โดยเฉพาะสังคมที่
หลากหลายและเหลื่อมล้ำอย่างสังคมไทย การศึกษาในระบบในสภาพปัจจุบันนอกจากจะไม่
สามารถสร้างเสริมศักยภาพการแข่งขันภายนอกได้อย่างจริงจังแล้ว ยังตอกย้ำและขยายความ
เหลื่อมล้ำ เพราะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นได้
การศึกษาฟรีจะเป็นเพียงการสนับสนุนการศึกษาในระบบ ซึ่งเราก็รู้อยู่ว่ายังไม่น่าพอใจสัก
เท่าไร การทุ่มเทให้กับการศึกษาฟรีจะมีผลลดการลงทุนของรัฐเพื่อการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยหรือไม่ อย่างไร รัฐจะสนับสนุนการศึกษานอกระบบหรือไม่อย่างไร เมื่อ
เด็กๆออกไปนอกห้องเรียนยังไม่เห็นหนังสือดีราคาย่อมเยาให้เด็กๆได้อ่านมากนัก ยังไม่เห็น
สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สื่อสาธารณะสำหรับเด็ก งบประมาณส่วนนี้ไปอยู่ที่ไหน งบกระตุ้น
เศรษฐกิจผ่านการอุดหนุนการทำหนังสือดีๆ สื่อการศึกษาดีๆ เป็นเรื่องที่รัฐน่าจะลองหยิบขึ้นมา
พิจารณา
รัฐควรสนับสนุนให้มีการศึกษาวิเคราะห์เศรษฐกิจนอกภาคทางการให้ลึกซึ้ง และรัฐต้อง
ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการมีฐานข้อมูลระดับจุลภาค
ปีที่แล้ว เมื่อเกิดวิกฤตพลังงานและอาหารแพง กระทรวงพาณิชย์วิ่งมาที่คณะ
เศรษฐศาสตร์ ปรึกษาว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าผลผลิตข้าวในประเทศในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าจะมีอยู่
จริงเท่าไร วันนั้นทั้งนักวิชาการและข้าราชการออกอาการ “บื้อ” เพราะทั้งนักวิชาการและกระทรวง
พาณิชย์ก็ไม่มีข้อมูลว่าเรามีสต็อกข้าวจริงเท่าไร กระทรวงเกษตรฯไม่มีข้อมูลว่าในเดือนหน้ามีข้าว
ที่จะเก็บเกี่ยวได้อีกเท่าไร พวกเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไรให้ทันกับการออกแบบ
มาตรการฉุกเฉิน ตัวช่วยกลับกลายเป็นภาคเอกชน ซึ่งแนะนำให้เราไปคุยกับบริษัทรับจ้างเกี่ยวข้าว
ในภาคกลาง (เพราะฤดูนั้นไม่มีข้าวในภาคอื่นๆ) ที่วิ่งตระเวนรถเกี่ยวข้าวอยู่ทั่วทุ่งท้องนาอย่าง
สม่ำเสมอ บริษัทเหล่านี้น่าจะช่วยประเมินข้อมูลได้ใกล้เคียงข้อเท็จจริงมากที่สุด
ที่ผ่านมา บริษัทซีพีลงทุนจ้างพนักงานวิ่งเก็บข้อมูลสินค้าเกษตรตามท้องทุ่ง กระทรวง
เกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) ก็ลงทุนจ้างคนไทยเก็บข้อมูลข้าวในพื้นที่ชนบท รัฐบาลไทยที่มี
เจ้าหน้าที่รัฐมากมายอยู่ในพื้นที่ได้ให้ความสำคัญกับข้อมูลเพียงใด น่ายินดีที่หนึ่งในโครงการ
กระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์คือการจ้างบัณฑิตอาสามาเก็บข้อมูลสินค้าเกษตร มี
ข้อแนะนำว่าข้อมูลที่เก็บควรเป็นข้อมูลที่กระทรวงพาณิชย์เองจะใช้ประโยชน์ได้ในการติดตาม
ประเมินผลนโยบายด้านจำนำสินค้าเกษตรที่กระทรวงฯได้ทุ่มเทงบลงไปมากมายภายใต้ข้ออ้างของ
การ “กระตุ้นเศรษฐกิจ”
สิ่งสุดท้ายที่อยากเห็น คือ รัฐรู้ว่าอะไรที่ไม่ควรทำ เพราะรัฐไทยนั้น ได้ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
มากมายจนชาวบ้านแซวว่า ไม่มีรัฐก็ดี เผื่ออะไรๆอาจจะดีขึ้น จึงได้แต่ฝากรัฐบาลใหม่ให้ช่วยคิด
อย่างจริงจังว่า อะไรที่รัฐทำอยู่แต่แท้จริงแล้วไม่ควรทำ และอะไรที่รัฐควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ
- ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ - pat@econ.tu.ac.th
คอลัมน์ เศรษฐ’ ธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น