ทันทีที่มีการเผยแพร่คำกล่าวของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2553 ว่า
รัฐบาลมีนโยบายในการผลักดันให้ประเทศไทยมีระบบสวัสดิการถ้วนหน้า
ก็ทำให้เกิดคำถามตามมามากมายว่า
สวัสดิการถ้วนหน้าหมายถึงรัฐสวัสดิการใช่หรือไม่ เพราะความรู้
ความเข้าใจของคนไทยที่มีต่อ รัฐสวัสดิการ คือ
รัฐจัดสวัสดิการให้กับประชาชนเต็มรูปแบบ
โดยประชาชนจะถูกเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าที่สูงมากเช่นเดียวกับรัฐสวัสดิการ
ในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ต่อมาได้มีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยจะเป็น “สังคมสวัสดิการ”
อย่างไรก็ตาม ก็ยังเกิดคำถามตามมาอีกเช่นกันว่า สังคมสวัสดิการ คืออะไร?
ต่างกับรัฐสวัสดิการซึ่งเป็นตัวแบบดั้งเดิมในการจัดสวัสดิการแบบถ้วนหน้า
อย่างไร?
รัฐสวัสดิการ (Welfare State) รัฐสวัสดิการ ในความหมายรวบยอดหมายถึง รัฐหรือประเทศที่มีการจัดระบบสวัสดิการสังคมอย่างทั่วด้านให้แก่ทุกคนในสังคมอย่างถ้วนหน้า (Welfare for All) สวัสดิการต่างๆที่จัดขึ้นนั้นดำเนินงานโดยรัฐทั้งหมด รัฐสวัสดิการมีลักษณะทั่วไป 3 ประการ คือ (Asa Briggs, 1961: 221-258)1. รัฐประกันรายได้ขั้นต่ำของทุกคนในสังคม โดยไม่คำนึงว่าคนๆนั้นจะเป็นใคร ทำงานอะไร มีทรัพย์สินมากน้อยแค่ไหน2. สร้างความมั่นคงในชีวิต ให้แก่ทุกคน ทุกครัวเรือน โดยให้มีหลักประกันทางรายได้ และอยู่รอดปลอดภัยจากภาวะวิกฤติต่างๆ3. ให้พลเมืองทุกคน โดยไม่เลือกกลุ่มคน ชนชั้น และสถานภาพ ได้รับบริการสังคม (social service) อย่างเสมอหน้ากัน ด้วยมาตรฐานที่ดีที่สุด เท่าเทียมกัน รัฐสวัสดิการถูกสร้างสรรค์ขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในประเทศอังกฤษ ประเทศสวีเดน นอร์เว เดนมาร์ค เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ด้วยนโยบายสังคม (Social Policy) ของพรรคแรงงาน(Labour Party) พรรคสังคมประชาธิปไตย(Social Democrat Party) และพรรคสังคมนิยมในยุโรป(Socialism Party) เนื่องจากว่าพรรคเหล่านี้เป็นตัวแทนของคนชั้นล่างที่เป็นมนุษย์ค่าจ้าง (Wage Earners) และคนชั้นกลาง(Middle Class) ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมอุตสาหกรรม พรรคเหล่านี้จึงมีนโยบายเก็บภาษีก้าวหน้า เก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดก เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้มากๆ แล้วนำรายได้นั้นมาจัดสรรเป็นสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่งคั่งให้แก่คนในสังคม แต่นโยบายภาษีดังกล่าวกระทบต่อความมั่นคงของคนชั้นสูงและชนชั้นนายทุน นโยบายสร้างรัฐสวัสดิการจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในยุคที่อำนาจรัฐอยู่ภายใต้การยึดครองของพรรคนายทุนหรือพรรคของพวกขุนนาง
การเกิดรัฐสวัสดิการไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ตัวอย่างเช่น ประเทศสวีเดน เริ่มต้นมีสวัสดิการสังคมประเภทช่วยเหลือเฉพาะคนยากจน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1847 กระแสสังคมนิยมกับการเกิดพรรคการเมืองใหม่อย่างพรรคสังคมประชาธิปไตย ในปี ค.ศ. 1889 ทำให้ค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบสวัสดิการสังคมให้ครอบคลุมประชาชนมากขึ้น ในปี พ.ศ. 1930 มีการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมครั้งใหญ่ในประเทศสวีเดน ได้มีการถกเถียงกันเป็นเวลานานถึง 10 ปีว่าจะปฏิรูปไปเป็นแบบใด ซึ่งประเด็นที่ถกเถียงกันมี 2 เรื่องใหญ่คือ หนึ่ง จะเป็นสวัสดิการแบบถ้วนหน้า (จนหรือรวยได้รับสวัสดิการเหมือนกัน) หรือเป็นแบบให้เฉพาะคนจน (ต้องพิสูจน์ว่าจนถึงจะได้) และ สอง
คือ รัฐจะหาเงินมาจากไหนเพื่อมาใช้จ่ายเรื่องสวัสดิการสังคม
จะมาจากรายได้ภาษีอากร หรือมาจากการสมทบเงินของผู้ได้ประโยชน์
(เช่นระบบประกันสังคมของไทยในปัจจุบัน) ในที่สุดปี ค.ศ. 1945 ก็ได้มีการสำรวจประชามติจากประชาชน ซึ่งพบว่าคนส่วนใหญ่ต้องการสวัสดิการสังคมแบบถ้วนหน้า และปี ค.ศ. 1946 เป็น
จุดเปลี่ยนประเทศเข้าสู่รัฐสวัสดิการ แบบที่คนได้รับสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า
อย่างดี เท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องสมทบเงิน เพราะรัฐใช้รายได้จากภาษีอากร
(เก็บในอัตราที่สูง) พรรคสังคมประชาธิปไตยได้ครองความเป็นรัฐบาลตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1936 ถึง 1976 โดยไม่มีพรรคอื่นมาขั้นกลาง
กรณีของประเทศอังกฤษ นโยบายด้านสวัสดิการสังคมของอังกฤษก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่าง แบบถ้วนหน้าไม่สมทบเงิน กับแบบสมทบเงิน (ตามแบบเยอรมัน) ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มี
การถกเถียงกันอย่างเข้มข้นว่าแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมควรเป็นอย่างไร
ในที่สุดก็สรุปว่า รัฐและประชาชนต้องร่วมกันรับผิดชอบสวัสดิการสังคม
โดยรัฐช่วยจัดการให้มีสวัสดิการขั้นต่ำอัตราเดียว
ประชาชนร่วมกันลงขันแบบอัตราเดียว
ถ้าใครต้องการมีกินมีใช้มากกว่าขั้นต่ำก็ต้องช่วยตัวเอง
อย่ามาหวังเอาจากรัฐ แต่ถ้าเป็นคนจน รัฐก็ช่วยเหลือเพิ่มเติมแบบให้เปล่า
ปรากฏว่ารัฐบาลซึ่งมาจากพรรคอนุรักษ์นิยมลังเล
ในที่สุดก็ประกาศว่าจะยังไม่ดำเนินการตามแนวทางนี้
ซึ่งจากการสำรวจความเห็นของประชาชนพบว่า ร้อยละ 47 ไม่พอใจกับท่าทีลังเลของรัฐบาลมาก จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1945 พรรคแรงงานชนะการเลือกตั้งจึงได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมทั้งหมด 8 ฉบับ มีการให้สวัสดิการแก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย และนำประเทศเข้าสู่รัฐสวัสดิการตามแบบฉบับของอังกฤษ
อีกตัวอย่างหนึ่งคือสหรัฐอเมริกา การก้าวสู่ความเป็น “รัฐสวัสดิการ” แตกต่างจากรัฐในยุโรป แม้ว่าในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ เมื่อช่วงปี ค.ศ.1929-1935 รัฐบาลของประธานาธิบดีรูสต์เวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ได้ใช้โครงการ New Deal สร้างสวัสดิการต่างๆโดยรัฐเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ คนว่างงาน และได้ตรารัฐบัญญัติความมั่นคงทางสังคม (Social Security Act) แต่สวัสดิการโดยรัฐในสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่ทั่วหน้าและไม่ทั่วด้านเหมือนรัฐสวัสดิการในยุโรป
ใน
กรณีของไทย เมื่อพูดถึงการเรียกร้องให้รัฐจัดสวัสดิการให้แก่คนบางกลุ่ม
ก็จะมีเสียงทักท้วงขึ้นมาว่า การสร้างรัฐสวัสดิการทำให้คนขี้เกียจ คอยรับแต่ความช่วยเหลือจากรัฐบาล ความจริงสวัสดิการบางอย่างที่รัฐจำเป็นต้องจัดให้แก่ประชาชนนั้นยัง
ห่างไกลจากความเป็นรัฐสวัสดิการอย่างมาก
สวัสดิการบางอย่างที่รัฐบาลไทยจัดให้ประชาชนนั้น
ยังเป็นระดับต่ำและไม่ทั่วด้าน ไม่ทั่วถึง ตัวอย่างเช่น
ระบบประกันสังคมก็ครอบคลุมเฉพาะลูกจ้างเท่านั้น นอกจากนี้
สวัสดิการทางการศึกษาและการรักษาพยาบาลก็ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มคน
ยังมีคนพิการ ชนกลุ่มน้อย คนชายขอบต่างๆ
เข้าไม่ถึงสวัสดิการเหล่านี้อีกจำนวนมาก
จึงเป็นเรื่องยากที่รัฐไทยขณะนี้จะสร้างสรรค์ “รัฐสวัสดิการ” ขึ้นมา เพราะผู้มีอำนาจรัฐที่หมุนเวียนเปลี่ยนหน้าเข้ายึดครองอำนาจรัฐ ล้วนแต่เป็นกลุ่มทุนหรือกลุ่มธุรกิจซึ่งไม่มีความกล้าหาญที่จะเสียสละผล
ประโยชน์ตนเองด้านภาษี ดังจะเห็นได้จากการคัดค้านพ.ร.บ.
ว่าด้วยภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก
และภาษีอัตราก้าวหน้าเพื่อนำไปเป็นรายได้ของรัฐและนำไปจัดสวัสดิการถ้วนหน้า
ให้แก่คนในสังคม ภาษีส่วนใหญ่ในสังคมไทยยังคงเป็นภาษีทางอ้อม
ผู้เสียภาษีส่วนใหญ่คือผู้บริโภคที่เป็นคนชั้นล่างและคนชั้นกลางที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้า และรายได้จากภาษีในสังคมไทย ก็ไม่พอเพียงที่จะนำไปจัดสวัสดิการสังคมถ้วนหน้าเหมือนอย่างประเทศในยุโรปได้
เมื่อรัฐบาลไทยมีข้อจำกัดในการสร้างรัฐสวัสดิการหรือสวัสดิการถ้วนหน้า รัฐไทยภายใต้การยึดครองของนายทุนจึงหันมาสนับสนุนระบบสวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นระบบช่วยเหลือกันเอง (Mutual Aid) เพราะช่วยให้รัฐลดภาระลงไปได้ แต่รัฐบาลไทยมักจะมองว่า “ชุมชน” คือชนบทหรือไม่ก็ชุมชนแออัด
ในเมือง ทั้งที่ความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ทำมาหากินอยู่นอกภาคเกษตร
เพราะกำลังแรงงานในภาคเกษตรมีเพียง 15.4 ล้านคน ขณะที่นอกภาคเกษตรมีถึง
20.8 ล้านคน กำลังแรงงานนอกภาคเกษตรส่วนใหญ่ก็คือ “มนุษย์ค่าจ้าง” ซึ่งต้องอาศัยระบบสวัสดิการจากสถานประกอบการ และจากสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายประกันสังคม ระบบสวัสดิการชุมชนในชนบทจึงกลายเป็นสวัสดิการของคนส่วนน้อย ยิ่งกว่านั้นคนชนบทในปัจจุบันก็ต้องพึ่งรายได้จากสมาชิกครอบครัวที่ทำงานนอกภาคเกษตรอีกด้วย ดังนั้นระบบสวัสดิการสังคมที่ครอบคลุมคนส่วนใหญ่จึงควรเป็นสวัสดิการ
สำหรับลูกจ้าง รองลงมาก็คือสวัสดิการสำหรับเกษตรกร
เงินออมเพื่อสวัสดิการของลูกจ้างคือกองทุนประกันสังคมที่มีอยู่ประมาณ
340,000 ล้านบาท เกิดขึ้นได้จากสามฝ่ายคือ ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล การ
ประกันสังคมเป็นระบบสวัสดิการที่มีความเป็นระบบ มีความมั่นคงของระบบ
และครอบคลุมกลุ่มคนจำนวนมากถึงประมาณ 8.8 ล้านคน
และทุกคนในระบบต้องมีส่วนช่วยเหลือตนเอง คือการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน
เป็นระบบบังคับออม (forced saving) แต่การบริหารจัดการยังอยู่ภาย
ใต้ราชการ ควบคุมจัดการโดยรัฐ
แม้จะมีตัวแทนของฝ่ายลูกจ้างเข้าไปเป็นคณะกรรมการของสำนักงานประกันสังคม
แต่ผู้ที่เข้าไปเป็นกรรมการจากฝ่ายลูกจ้างก็ไม่ได้เป็นตัวแทนของฝ่ายลูกจ้าง
อย่างแท้จริง
Website http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20100819/348739/ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง:เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม.html
อย่างไรก็ตาม การมีระบบประกันสังคมที่ครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้นก็มิได้หมายความว่าประเทศ ไทยได้กลายเป็นรัฐสวัสดิการไปแล้ว เพราะยังไม่ใช่สวัสดิการถ้วนหน้าของทุกกลุ่ม และคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีหลักประกันทางรายได้และความมั่นคงในชีวิต สังคมสวัสดิการ (Welfare Society)
สังคมสวัสดิการ(Welfare Society)ไม่ใช่สวัสดิการสังคม(Social Welfare) และมีความหมายที่แตกต่างไปจากรัฐสวัสดิการ(Welfare State) เพราะรัฐสวัสดิการโดยทั่วไปเป็นรัฐที่มีการจัดสวัสดิการทั่วหน้าและทั่วด้านโดยรัฐ แต่สังคมสวัสดิการเป็นสังคมที่มีสวัสดิการหลากหลาย แต่ไม่ได้จัดโดยรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น สังคมสวัสดิการจึงหมายถึงสังคมที่มีสวัสดิการหลายรูปแบบ จัดการโดยหลายสถาบัน แต่ละประเภทแต่ละสถาบันมีความเป็นอิสระต่อกัน สร้างสรรค์สวัสดิการบนพื้นฐานของความสามารถและความเหมาะสมของสถาบันนั้นๆ (Gordon & Spicker, 1999: 145-146)
ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ในช่วง 1980s-1990s พวกเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) ต่างพากันวิจารณ์ว่า นโยบายรัฐสวัสดิการทำลายเศรษฐกิจ ไม่ส่งเสริมศักยภาพของคน เพราะคนรอความช่วยเหลือจากระบบสวัสดิการ รัฐสิ้นเปลืองงบประมาณมาก และไม่ก่อให้เกิดผลิตภาพ (Productivity)
เพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจชะงักงัน พวกนี้จึงเห็นว่า
ควรลดความเป็นรัฐสวัสดิการ
และควรส่งเสริมให้ประชาชนสร้างทางเลือกของระบบสวัสดิการพึ่งตนเอง
โดยการพัฒนาระบบช่วยเหลือตนเอง (Self Help) และระบบร่วมด้วยช่วยกัน (Mutual Aid) ให้มากขึ้น กล่าวโดยรวมคือ ความพยายามที่จะฟื้นฟูระบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Friendly Society)ในยุคศตวรรษที่ 18-19 ขึ้นมาใหม่ โดยการอ้างเหตุผลเรื่องลดภาระของรัฐบาล ส่งเสริมศักยภาพของปัจเจกบุคคลและชุมชน และความเป็นอิสระของการบริหารจัดการ (Mai Wann, 1998 : 154-165) ตัวอย่างที่กล่าวถึงกันทั่วไปคือ การจัดตั้ง Credit Union ให้เป็นสถาบันเงินออมของชุมชน และใช้เงินออมนั้นเป็นทุนเลี้ยงชีพและสวัสดิการของสมาชิก กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในประเทศไทยยุคเริ่มต้นก็ได้อิทธิพลความคิดมาจาก Credit Union
สหรัฐอเมริกาพยายามที่จะให้เกิดสังคมสวัสดิการ (Welfare Society) มากกว่าสวัสดิการโดยรัฐ(Welfare State)
เพราะพรรคแนวมวลชนประเภทพรรคแรงงาน พรรคสังคมประชาธิปไตย
ไม่มีโอกาสครองอำนาจรัฐ
แนวทางการจัดสวัสดิการของสหรัฐอเมริกาจึงมุ่งไปสู่สังคมสวัสดิการมากขึ้น
เรื่อยๆ การจัดสวัสดิการโดยรัฐจะลดระดับลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับคนจนบางกลุ่มที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ สวัสดิการระดับนี้เรียกว่า โครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมหรือ Social Safety Net โดยการแปรรูปสวัสดิการต่างๆให้ไปอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของภาคเอกชนและภาคชุมชนมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแนวคิดจากสวัสดิการเพื่อทุกกลุ่มคนและชนชั้นในรัฐสวัสดิการ มาเป็นสวัสดิการพื้นฐานสำหรับกลุ่มคนยากจนคนด้อยโอกาส เพื่อก้าวไปสู่ สังคมสวัสดิการ ตามแนวคิดของพวกเสรีนิยมใหม่ (ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, 2546: 22-24)
แนวคิดสังคมสวัสดิการ ดูจะสอดคล้องกับแนวคิดของกลุ่มทุนไทยที่ครองอำนาจรัฐ
เพราะเป็นแนวคิดที่ไม่เป็นภาระของกลุ่มทุน
เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ไม่ต้องพึ่งรายได้จากภาษีก้าวหน้า ภาษีทรัพย์สิน
และภาษีมรดก ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงสนับสนุนระบบสวัสดิการโดยชุมชน
แต่เน้นไปที่ชุมชนชนบท และหลีกเลี่ยงการสนับสนุนชุมชนโรงงาน
เพราะกลุ่มทุนไม่ต้องการให้ลูกจ้างเข้มแข็ง
นอกจากนี้ยังไม่ได้สนใจที่จะปรับปรุงระบบประกันสังคมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นใน
การสร้างความมั่นคงให้กับลูกจ้าง มีข้อพึงสังเกตว่า จุดที่แตกต่างในการสร้างรัฐสวัสดิการและสังคมสวัสดิการของ พวกเสรีนิยมใหม่ก็คือ การจัดตั้งและการรวมตัวของประชาชนอาชีพต่างๆ ในยุโรปและอเมริกา ประชาชนกลุ่มต่างๆมีการรวมตัวกันเข้มแข็ง ภาคประชาสังคมมีพลังต่อรองสูง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแรงงาน กลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มนักวิชาชีพ การสร้างรัฐสวัสดิการและระบบสวัสดิการแบบร่วมด้วยช่วยกันจึงทำได้ง่ายกว่า แต่ในสังคมไทย การรวมตัวของประชาชนเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับพลังอื่นๆในสังคมยังยากลำบาก ภาคประชาสังคมยังอ่อนแอ กลุ่มทุนยังคงมีอำนาจมาก พลังถ่วงดุลในสังคมไทยยังมีน้อย
ทั้ง 3 โครงการมีความชัดเจนว่าต้องการช่วยกลุ่มเป้าหมายคือ คนจน ทุกโครงการมีปัญหามากมาย ใน
ทางปฏิบัติการให้กู้เงินของโครงการ กข. คจ. กลับไม่ใช่คนจน
ด้วยกรรมการที่จัดสรรเงินมักเห็นว่าคนจนได้เงินไปก็ไม่มีปัญญาคืน
ทุกวันนี้เงินที่คนมีอันจะกินได้กู้ไปก็ยังไม่คืนอีกมากมาย
ผู้ใหญ่บ้านโกงไปใช้เองก็มี ยังเป็นคดีอยู่ในศาลก็มาก
ในปี พ.ศ. 2544 รัฐบาลไทยรักไทยเข้ามาบริหารประเทศ ก็ฉีกแนวเป็นกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท ทุกคนมีสิทธิกู้ ถึงกระนั้นปัญหาก็ยังเหมือนเดิม คือ คนที่กู้เงิน ก็ยังไม่ใช่คนจนอย่างแท้จริง นอก
จากนี้ โครงการ สปร. ซึ่งเป็นลักษณะสงเคราะห์ คนไม่จนได้บัตร สปร.
ก็มีมากมาย เมื่อรัฐบาลไทยรักไทยเข้ามา
โครงการนี้ก็ถูกแปลงโฉมเป็นแบบถ้วนหน้า เรียกว่า 30 บาทรักษา
ทุกโรค อีกโครงการหนึ่งคือ โครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ก็เป็นการสงเคราะห์คนแก่ยากจน ถูกทอดทิ้ง
แต่ก็มีผู้สูงอายุที่ไม่จนได้รับเบี้ยยังชีพ จนมาถึงยุคพรรคไทยรักไทยเพิ่มจำนวนผู้มีสิทธิทั่วประเทศจาก 4 แสนคนเป็น 1 ล้านคน แต่พรรคไทยรักไทยก็สิ้นสภาพไปเสียก่อนที่จะขยายโครงการนี้เป็นถ้วนหน้า เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหารประเทศในปี พ.ศ. 2552 ก็มีการขยายสิทธิให้แก่ผู้สูงอายุทุกคนได้รับเบี้ยยังชีพ
เราคงไม่ปฏิเสธว่ารัฐบาลมีความใส่ใจเรื่องสวัสดิการสังคม แต่ที่ไม่แน่ใจ คือรัฐบาลเลือกที่จะทำสวัสดิการถ้วนหน้า หรือสวัสดิการคนจน กันแน่ ความคลุมเครือเกิดขึ้นจากหลายคำพูด เช่น “ให้สังคมสวัสดิการเป็นวาระแห่งชาติ” แต่
ไม่เคยมีมาตรการที่ไปสู่สังคมสวัสดิการที่ชัดเจน จึงอาจประเมินได้ว่า
รัฐบาล อยากให้สวัสดิการเป็นแบบถ้วนหน้า แต่ก็กลัวว่าจะเป็นภาระกับงบประมาณ
ครั้นจะไปแนวเดิมแบบอดีตที่ให้เฉพาะคนจน ก็กลัวว่า
จะเป็นการทำให้นโยบายประชานิยมฟื้นตัวขึ้นมาอีกในระหว่างการหาเสียงเลือก
ตั้ง ซึ่งจะยิ่งทำให้นโยบายสังคมสวัสดิการไม่เป็นจริง
บทสรุป
มุม มองทางทฤษฎี กล่าวได้ว่า ประเทศไทยยังไม่สามารถเป็นรัฐสวัสดิการได้ เพราะผู้มีอำนาจทางการเมืองการปกครองยังเป็นกลุ่มทุนที่ไม่ยอมเสียประโยชน์ จากการถูกเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ภาษีมรดก ภาษีที่ดินเพื่อนำเงินมาจัดสวัสดิการให้กับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน จากสถิติการถือครองที่ดินของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย มูลนิธิสถาบันที่ดินแห่งประเทศไทย พบว่า ประมาณ 90% ของคนไทย มีที่ดินถือครองไม่ถึง 1 ไร่ ในขณะที่คนกลุ่มที่เหลืออีก 10% ถือครองที่ดินคนละมากกว่า 100 ไร่ และมากกว่า 70% ของ ที่ดินที่มีผู้จับจอง ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ แต่เป็นการถือครองเพื่อเก็งกำไร นอกจากนี้สถิติการลงทะเบียนคนจนของกระทรวงพาณิชย์ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า มีเกษตรกรไร้ที่ดินทำกินมาลงทะเบียน เรื่องปัญหาที่ดินทำกินไม่น้อยกว่า 3.2 ล้านครอบครัว (ประมาณ 9.6 ล้านคน) และในกรุงเทพมหานคร กลุ่มคนที่มีที่ดินมากที่สุด 50 อันดับแรก ถือครองที่ดินมากกว่ากลุ่มคนที่มีที่ดินน้อยที่สุด 50 อันดับสุดท้าย 390,000 เท่า สถิติการถือครองที่ดินดังกล่าวคือข้อยืนยันที่ชัดเจนว่า ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินอย่างมากมายมหาศาล โดยกลุ่มทุนเป็นกลุ่มที่ถือครองที่ดินเป็นส่วนใหญ่
ตราบ
ใดที่ประเทศไทยยังคงปกครองด้วยกลุ่มทุน
เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศไทยจะเป็นรัฐสวัสดิการ
ประเทศไทยจึงเป็นได้เพียงสังคมสวัสดิการที่ทุกภาคส่วนในสังคมต้องลุกขึ้นมา
จัดสวัสดิการให้กับตนเองเพราะไม่อาจพึ่งรัฐได้ อย่างไรก็ตาม
การได้มาซึ่งสวัสดิการโดยการรวมกลุ่มร่วมกันสร้างขึ้นมาเองโดยไม่เรียกร้อง
สิทธิสวัสดิการจากรัฐเลยนั้น ไม่น่าจะถูกต้อง
เพราะรัฐต้องมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนโดยการจัดให้มีบริการสังคม
ประกันสังคม และสังคมสงเคราะห์ที่มีคุณภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม ในทุกๆ ด้าน
การ
ขับเคลื่อนประเทศไทยไปเป็นสังคมสวัสดิการจึงไม่ใช่การโยนความรับผิดชอบ
เรื่องสวัสดิการสังคมมาให้ประชาชนรับผิดชอบกันเองเท่านั้น
แต่รัฐจะต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มและ
ชุมชนให้เข้มแข็งโดยขยายมิติชุมชนให้ครอบคลุมชุมชนคนงานซึ่งมีอยู่เป็นจำนวน
มากด้วย เพื่อให้กลุ่มและชุมชนในชนบท ชุมชนแออัดในเมือง
และชุมชนคนงานซึ่งเป็นชุมชนฐานรากมีสวัสดิการที่เข้มแข็งดูแลกันเองได้ ในขณะเดียวกัน รัฐยังคงต้องมีบทบาทในการจัดสวัสดิการสังคมด้านต่างๆที่ครอบคลุมคนทั้งประเทศต่อไป และ
ต้องไม่ปิดกั้นประชาชนในการเรียกร้องสิทธิสวัสดิการที่ยังไม่ครอบคลุมกลุ่ม
คนชายขอบต่างๆ เข้าไม่ถึงสวัสดิการที่จัดโดยรัฐที่มีอีกจำนวนมากด้วย
หนังสือ
Neuhaus, R. (1979) Social Security: How it Works in the Federal Republic of Germany. Brunswick: Friedrich Ebert Stiftung.
Wann, Mai (1998) Building Social Capital, in Jane Franklin (ed.) Social Policy and Social Justice. Oxford: Polity press, pp.154-165.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น