วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

              การนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ก็เพื่อที่จะนำค่าหรือราคาของสิ่งแวดล้อม เข้าไปบวกไว้ในราคาของสินค้าในระบบของตลาด หรือการให้มูลค่า/ราคาต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และโดยหลักทางทฤษฎีแล้วมาตรการทางเศรษฐศาสตร์จะสามารถแสดงบทบาทได้สมบูรณ์ เมื่อระบบตลาดเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์

เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา:  http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/192/science/TI2econD.htm
            จากอดีต จนถึงปัจจุบันพบว่าปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและการเสื่อมโทรของทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทวีความรุนแรงและเกิดการแพร่กระจายครอบคลุมไปทั่วโลก ซึ่งเกิดจากการพัฒนาและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ก่อให้เกิดผลกระทบสู่ภายนอกซึ่งผลกระทบสู่ภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ ของสิ่งแวดล้อมนั้น เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มที่ก่อให้เกิดผลกระทบนั้นไม่สนใจถึงต้นทุนและผล ตอบแทนที่จะมีขึ้นกับสังคม เช่น การที่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำต่อท่อระบายของเสียจากการผลิต ลงสู่แม่น้ำโดยปราศจากการติดตั้งเครื่องกำจัดของเสียโดย หลักทางทฤษฎีแล้วการนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ก็เพื่อที่จะนำค่าหรือราคา ของสิ่งแวดล้อม เข้าไปบวกไว้ในราคาของสินค้าในระบบของตลาด หรือการให้มูลค่า/ราคาต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และโดยหลักทางทฤษฎีแล้วมาตรการทางเศรษฐศาสตร์จะสามารถแสดงบทบาทได้สมบูรณ์ เมื่อระบบตลาดเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์
มาตรการทางเศรษฐศาสตร์(Economic Instruments)
           มาตรการหรือเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์(Economic Instruments) เป็น มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งได้มีการพัฒนาและนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่ง แวดล้อมซึ่งเกิดจากการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ
(1) มาตรการที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์(Economic Incentives) ได้แก่ มาตรการยกเว้นด้านภาษี (Tax Exemptions) มาตราการการลดหย่อนทางภาษี (Tax Reduction) การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน/การลงทุน (Financial Subsidies) ด้าน เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนซึ่งใช้เครื่องจักร/โรงงานที่ไม่ก่อไห้เกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การวางเงินค้ำประกันซึ่งสามารถเรียกคืนได้ (Deposit-refund Schemes) และ
(2) มาตรการที่ลดแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Disincentives) ส่วนมากเป็นระบบซึ่งอยู่บนพื้นฐานของหลักการผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย (Polluter Pays Principle) เช่น ระบบการกำหนดภาษีสิ่งแวดล้อม (Environmental Tax) การเก็บค่าธรรมเนียมมลพิษ (Environmental/Pollution Tax) การใช้นโยบายการกำหนดราคา (Pricing Policy) ระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยมลพิษ (Transferable Policy Rights หรือ Marketable or Tradable Permits/Quotas) การเก็บค่าทิ้งกากของเสียและปล่อยน้ำทิ้ง (Effluent/ Discharge Fees) เป็นต้น
มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีการนำมาใช้ในการจักการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
           ประเทศไทยเรานั้นได้นำเอาทิ้ง 2 วิธี มาใช้ คือ (1) มาตรการ จูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ตัวอย่างเช่น การใช้เงินช่วยเหลือด้านการลงทุนเพื่อการสร้างระบบบำบัดของเสียที่เป็นพิษ และของเสียที่เป็นสารพิษ โดยมีการใช้วิธีการเก็บค่าบริการ (Service Charges) ในการใช้บ่อบำบัดน้ำเสียรวมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และรวมไปถึงการสร้างความแตกต่างของราคา (Price Differentiation) ในกรณีของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผสมสารตะกั่ว และ (2) มาตรการ ที่ลดแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ ตัวอย่างเช่น มาตรการด้านด้านภาษีมลพิษมาบังคับใช้ ในกรณีของรถจักรยานยนต์สองจังหวะ เครื่องปรับอากาศแบตเตอรี่ และหินอ่อนและหินแกรนิต (ซึ่งกรณีของหินอ่อนและหินแกรนิต ได้ถูกยกเลิกไปในปี 2540) ณ ปัจจุบันการจักการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนในประเทศ ไทยมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้นหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2540 ซึ่ง ส่งผลให้ องค์กรส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. และชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิในการอนุรักษ์การจัดการ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้องค์การเอกชนต่าง ๆ ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการกระตุ้นให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ให้ยั่งยืน โดยที่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น