วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เศรษฐศาสตร์ช่วยโลกคลายร้อน

        าเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเกิดโลกร้อน คือ การลดลงของก๊าซออกซิเจน และการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ชั้นบรรยากาศเสียไป แสงจากพระอาทิตย์สามารถส่องตรงมายังโลกได้มากขึ้น

        ในปัจจุบันก็ได้มีความตื่นตัวมากขึ้นเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การส่งเสริมให้ใช้ถุงพลาสติกสิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้เป็นการเสนอแนวความคิด ทางเศรษฐศาสตร์ที่จะช่วยโลกคลายร้อนได้ (อาจจะไม่ถูกใจประเทศที่พัฒนาแล้วเสียหน่อยนะ)

        ในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง นอกจากต้นทุนที่ใช้ในการผลิต และสินค้าที่ผลิตได้แล้ว ยังมีต้นทุนที่นอกเหนือการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ตัวสินค้าอยู่อีก สำหรับต้นทุนที่ไม่ได้รวมอยู่ในกระบวนการผลิตนี้เรียกว่า ต้นทุนภายนอก (Externality Cost)

        ต้นทุนชนิดนี้จะไม่กระทบต่อผู้ประกอบการ เช่น การที่โรงงานอุตสาหกรรมมีผลกระทบการทำลายสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ การทำให้น้ำเสีย หรือแม้แต่มลพิษทางเสียง ซึงถ้าปล่อยไปตามกลไกของตลาดผู้ผลิตไม่คิดต้นทุนเหล่านี้เข้าไปก็จะทำให้ สินค้าอุตสาหกรรมถูกกว่าที่ควร และจึงทำให้มีการบริโภคที่มากเกินไป

        ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเข้ามาเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้ต้นทุนภายนอกนี้ได้กลายมาเป็นต้นทุนของผู้ผลิตในขณะนี้มีการตื่นตัว เรื่องนี้กันมาก โดยจะเห็นได้จากการที่มีการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม และการบังคับและตรวจสอบให้โรงงานมีการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย

        สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้พูดถึงกันมากนักคือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ใช่ตัวสินค้า เพื่อให้เข้าใจกันง่ายขึ้นผมขอแบ่งเป็น 2 ประเภทแล้วกัน ประเภทที่หนึ่ง คือ เป็นประเภทที่จับต้องได้ เรียกว่า By Product เช่น โรงสีข้าว นอกจากข้าวที่เป็นตัวสินค้า ยังมีแกลบ และรำ เป็น By Product ซึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทนี้สามารถมีตลาดได้จึงมีมูลค่า จึงไม่มีปัญหาใด ๆ

        แต่สำหรับประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่จับต้องไม่ได้ เช่น การปลูกพืชทำการเกษตร จะผลิตก๊าซออกซิเจนออกมาด้วยผมขอเรียกสินค้าประเภทนี้ว่าเป็น Positive Externality เนื่องจากว่าสินค้าประเภทนี้ไม่สามารถจับต้องได้ (ผู้ผลิตไม่สามารถนำมาขายได้) จึงไม่มีตลาดเลยไม่มีมูลค่าด้วย

        ดังนั้น การปล่อยให้สินค้าเกษตรเป็นไปตามกลไกตลาดราคาของสินค้าเกษตรก็จะไม่สะท้อน สินค้าประเภทนี้ด้วยทำให้ผลตอบแทนต่อเกษตรกรต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จึงนำไปสู่การผลิตที่น้อยเกินควร ดังนั้นการปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดนั้นจะส่งผลให้มีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ที่มากเกินไป การผลิตภาคเกษตรที่น้อยเกินไป นำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น

        จากหลักการที่กล่าวมาข้างต้น ผมจึงขอนำเสนอความคิดในการเก็บภาษีภาคอุตสาหกรรมที่เป็นส่วนของ Externality Cost แล้วนำมาสนับสนุนภาคเกษตรในส่วนที่เป็น Positive Externality ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีการศึกษา และคำนวณ Externality เหล่านี้ให้ถูกต้อง และไม่ควรทำกันเองในแต่ละประเทศ เพราะเนื่องจากบางประเทศที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมก็ไม่จำเป็นต้องสนับสนุน เกษตรมากส่วนประเทศที่เป็นเกษตรกรรม ก็ไม่รู้จะนำเงินสนับสนุนมาจากไหน และเรื่องของโลกร้อนก็กระทบต่อคนทั้งโลก ดังนั้นหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ จึงต้องเข้ามาดูแล และรับผิดชอบ
 
ทันเศรษฐกิจ
•...วิศิษฏ์ ชัยศรีสวัสดิ์สุข
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า
www.econ.nida.ac.th

หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
ฉบับวันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น